ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา มิ, กรำ, เคี่ยวเข็ญ, นิพนธ์, ไหนจะ
พระราชนิพนธ์
หมายถึง(แต่ง) บทความ นิทาน นิยาย ละคร เพลง สรุปคือ วรรณกรรมอะไรก็ใด้ ที่พระมหากษัตริย์เป็นคนแต่ง
คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย พร้อมความหมาย
นิพนธ์
หมายถึงน. เรื่องที่แต่งขึ้น, (ราชา) พระนิพนธ์, พระราชนิพนธ์. ก. ร้อยกรองถ้อยคำ, แต่งหนังสือ, (ราชา) ทรงนิพนธ์, ทรงพระนิพนธ์, ทรงพระราชนิพนธ์. (ป., ส. นิพนฺธ).
ทรงพระราชนิพนธ์
หมายถึงแต่งหนังสือ
มิ
หมายถึงก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้. (บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).
กรำ
หมายถึง[กฺรำ] ว. ตรำ, ฝ่า, ทนลำบาก, เช่น กรำแดด กรำฝน, เคี่ยวเข็ญเย็นคํ่ากรำไป. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖).
เคี่ยวเข็ญ
หมายถึงก. บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลำบาก เช่น เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖); บังคับให้ทำงานให้มากขึ้น เช่น เคี่ยวเข็ญให้ขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน.
ไหนจะ
หมายถึงว. สำนวนแสดงถึงความตัดพ้อต่อว่าด้วยความท้อใจเป็นต้น เช่น ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา. (เพลงฝรั่งรำเท้า พระราชนิพนธ์ ร. ๖).
พระราชดำรัส, พระราชกระแส
หมายถึงคำพูด, พูด
พระราชชนนี, พระราชมารดา
หมายถึงแม่ ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ หมายถึง แม่ ที่มิได้เป็นพระมเหสี หรือแม้เป็นเจ้านายที่ทรงอิสริยศักดิ์สูง
มีพระราชกระแส, มีพระราชกระแสรับสั่ง, มีพระราชดำรัสสั่ง
หมายถึงสั่ง
ต้องพระราชอาญา
หมายถึงต้องโทษ
พระราชนัดดา
หมายถึงหลานชายหรือหลานสาว