ตัวกรองผลการค้นหา
ทัฬหีกรรม
หมายถึง[ทันฮีกำ] น. การกระทำให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทำซํ้าลงไปเพื่อให้มั่นคงในกรณีที่การกระทำครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ในพิธีสงฆ์ เช่น ทำทัฬหีกรรม สวดทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).
ท้าง
หมายถึง(กลอน) ว. ทั่ว, ตลอด, โบราณใช้อย่างเดียวกับ ทั้ง.
ทางการ
หมายถึงน. ระเบียบปฏิบัติที่วางไว้เป็นแนวทาง, ฝ่ายที่เป็นกิจการ. ว. ที่เป็นงานเป็นการ.
ทางช้างเผือก
หมายถึงน. แสงกลุ่มดาวซึ่งแผ่เห็นสว่างเป็นพืดในท้องฟ้า.
ทางใน
หมายถึงน. การหยั่งรู้ด้วยพลังจิต, โดยปริยายหมายถึงการนึกเดาเอาเอง.
ทางผ่าน
หมายถึงน. บุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือดุจสะพานเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ.
ทางสายกลาง
หมายถึงน. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใดทางหนึ่ง.
ทางออก
หมายถึง(สำ) น. ทางรอด, วิธีแก้ปัญหา.
ทาน,ทาน,ทาน-
หมายถึง[ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).
ทานบดี
หมายถึง[ทานนะบอดี] น. เจ้าของทาน. (ป., ส. ทานปติ).
ทานพ
หมายถึง[-นบ] น. อสูรจำพวกหนึ่งในนิยาย. (ป., ส.).
ทานศีล
หมายถึง[ทานะสีน] ว. มีการให้เป็นปรกติ. (ส.; ป. ทานสีล).