ค้นเจอ 277 รายการ

ตะบัน

หมายถึงน. เครื่องตำหมากของคนแก่ มีรูปคล้ายกระบอก โดยมากทำด้วยทองเหลือง มีลูกตะบันสำหรับตำ และมีดากอุดก้น. (เทียบ ข. ตฺบาล่). ก. ทิ่มหรือแทงกดลงไป, กระทุ้ง; (ปาก) ดึงดัน เช่น ตะบันเถียง. ว. คำประกอบกริยาหมายความว่า ไม่มียับยั้ง, เรื่อยไป, เช่น เที่ยวตะบัน เถียงตะบัน.

ข้าวเม่าทอด

หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ใช้ข้าวเม่าตำคลุกกับมะพร้าวและน้ำตาลปึกหุ้มกล้วยไข่สุก แล้วชุบแป้งทอดเป็นแพ ๆ.

ปิ่นโต

หมายถึงน. ภาชนะสำหรับใส่ของกิน ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีหูร้อยหิ้วได้, ลักษณนามว่า เถา เช่น ปิ่นโต ๒ เถา.

รื่น

หมายถึงว. ชื่น, สบาย, เช่น ฟังเสียงรื่นหู ดูทิวทัศน์รื่นตา เสียใจแต่แสร้งทำหน้ารื่น.

ลุ่ยหู

หมายถึงว. อาการที่แพ้อย่างไม่มีทางสู้ (เดิมใช้แก่ปลากัด คือ ฝ่ายแพ้ถูกกัดหูเสียจนหมด).

กระชอก

หมายถึง(โบ; กลอน) ก. กระฉอก เช่น กระชอกชอกชล กระมลมลมาลย์. (ประชุมหนังสือเก่า ภาค ๒). (ไทยเหนือ ซอก ว่า ตำ, กระทุ้ง).

ชัน

หมายถึงก. ยกตั้งตรง เช่น ชันขา ชันเข่า; ตั้งขึ้น เช่น ขนชัน หูชัน. ว. ตรงขึ้นไป, ไม่ลาด, เช่น ตลิ่งชัน.

ซอก

หมายถึงน. ช่องทางที่แคบ ๆ เช่น ซอกเขา ซอกหู ซอกคอ. ก. ซุก, ซุกแทรกเข้าไป, ซ่อน.

ส้มตำ

หมายถึงน. ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้มีมะละกอเป็นต้นมาตำประสมกับเครื่องปรุงมี กระเทียม พริก มะนาว กุ้งแห้ง เป็นต้น มีรสเปรี้ยว, บางท้องถิ่นเรียก ตำส้ม.

เย็นหู

หมายถึงว. รื่นหู, ไม่ขัดหู, ฟังแล้วสบายใจ, เช่น พูดจาไพเราะนุ่มนวลฟังแล้วเย็นหู เสียงเขาฟังแล้วเย็นหู.

ขัดตา

หมายถึงก. ดูไม่ถูกตา, ดูไม่เหมาะตา, ขัดนัยน์ตา ขัดลูกตา หรือขัดลูกหูลูกตา ก็ว่า.

พาน

หมายถึงว. ทำท่าว่า เช่น พานจะเป็นลม พานจะตาย พานจะโกรธ, พี่ก็พานแก่ชราหูตามัว. (สังข์ทอง).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ