ตัวกรองผลการค้นหา
ลายไพรคีบ
หมายถึงน. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานซ่อน ซวง ตุ้น ลอบยืน ลอบนอน เป็นต้น โดยใช้ตอกกลม ๒ เส้นขัดตอกไขว้กันโดยมีตอกซังเป็นเส้นยืนเว้นระยะห่างเท่า ๆ กัน.
บังเงา
หมายถึงว. เรียกหญิงหากินที่ในเวลากลางคืนมักยืนแอบอยู่ตามเงามืดที่แสงไฟส่องไปไม่ถึงว่า นางบังเงา.
รังกา
หมายถึงน. ที่สำหรับคนขึ้นไปยืนสังเกตการณ์บนยอดเสากระโดงเรือ มักทำเป็นแป้นกลมมีรั้วล้อมรอบ.
ทำเวร
หมายถึงก. ผลัดเปลี่ยนเวรกันทำงาน โดยเฉพาะทำความสะอาดห้องเรียนของนักเรียน; ก่อเวร, ผูกเวร, ทำเวรทำกรรม ก็ว่า.
ศาสนวัตถุ
หมายถึงน. วัตถุที่เกี่ยวเนื่องทางศาสนา มักเป็นสิ่งที่เคารพบูชา เช่น พระพุทธรูปเป็นศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนา.
ตะกอ
หมายถึงน. ส่วนของเครื่องทอผ้าทำด้วยเส้นด้ายร้อยกับกรอบไม้ สำหรับแยกเส้นด้ายยืนให้ขึ้นลงเพื่อให้ขัดกับเส้นด้ายพุ่ง.
ยงโย่
หมายถึงก. กิริยาที่นั่งยอง ๆ หรือยืนขยับตัวขึ้น ๆ ลง ๆ ก้ม ๆ เงย ๆ ไม่เป็นระเบียบ, โยงโย่ ก็เรียก.
กงโก้
หมายถึง(ปาก) ว. โก่ง ๆ โค้ง ๆ เช่น ยืนกงโก้, หลังโกงไม่น่าดู เช่น ผอมกงโก้; เกะกะไม่เรียบร้อย เช่น กงโก้กงกก, โกงโก้ ก็ว่า.
เอียง
หมายถึงว. อาการของสิ่งที่เอนไปข้างหนึ่ง เช่น คอเอียง, อาการของสิ่งที่เสียระดับ ไม่ว่าจะในแนวนอนหรือแนวยืนก็ตาม เช่น เรือเอียง เรือนเอียง. ก. เปลี่ยนระดับไม่ว่าจะในแนวนอนหรือแนวยืนก็ตาม เช่น เครื่องบินกำลังเอียงปีกเพื่อร่อนลง เขาเอียงคอดู.
เชิญ
หมายถึงก. แสดงความปรารถนาเพื่อขอให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความเคารพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเทวดา เชิญมารับประทานอาหาร; ถือ อุ้ม ชู หรือนำไปเป็นต้นด้วยความเคารพ เช่น เชิญพระแสง เชิญพระพุทธรูป เชิญธง เชิญขันหมาก; กล่าวอนุญาตให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความสุภาพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเถิด เชิญครับ เชิญตามสบาย.
กังก้า
หมายถึงว. จังก้า, ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้ เช่น ถกเขมรกังก้าเรียกข้าไทย. (ขุนช้างขุนแผน-แจ้ง).
เกล้า
หมายถึง[เกฺล้า] น. หัว (ใช้เฉพาะในโวหารแสดงความเคารพอย่างสูง) เช่น มารดาบังเกิดเกล้า. ก. มุ่นผมให้เรียบร้อย เช่น เกล้าจุก เกล้ามวย.