ค้นเจอ 1,227 รายการ

คาร์บอเนต

หมายถึงน. เกลือปรกติของกรดคาร์บอนิก เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของหินปูน หินอ่อน กระดูก เป็นต้น. (อ. carbonate).

คารพ

หมายถึง[-รบ] น. ความเคารพ, ความนับถือ. (ป. คารว).

ค่าว

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. กลอนหรือกวีนิพนธ์แบบหนึ่ง มักใช้แต่งรำพันความรักหรือแต่งเป็นเรื่อง เช่น ค่าวเรื่องจำปาสี่ต้น หมายถึง คำกลอนเรื่องจำปาสี่ต้น.

ค้าว

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๑-๑.๕ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทางหาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว (Wallagonia attu) และ ค้าวดำ คูน ทุกอีชุก อีทุก หรือ อีทุบ (W. miostoma) ซึ่งมีหนวดยาวกว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก.

ค่าสัมบูรณ์

หมายถึง(คณิต) น. ค่าของจำนวนจริงที่ไม่คำนึงถึงเครื่องหมาย เช่น ค่าสัมบูรณ์ของ -๓ หรือ +๓ คือ ๓. (อ. absolute value).

ค่าสินไหมทดแทน

หมายถึง(กฎ) น. เงินที่ต้องชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินหรือแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการผิดสัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย เช่น ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้.

ค่าเสมอภาค

หมายถึงน. มูลค่าหรือราคาของหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่ตราไว้; มูลค่าแลกเปลี่ยนของหน่วยเงินตราสกุลหนึ่ง ที่เทียบเท่ากับมูลค่าแลกเปลี่ยนของหน่วยเงินตราอีกสกุลหนึ่ง. (อ. par value).

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

คำกร่อน

หมายถึง(ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออกเสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระโครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.

คำขวัญ

หมายถึงน. ถ้อยคำที่แต่งขึ้นเพื่อเตือนใจหรือเพื่อให้เป็นสิริมงคล.

ค่ำคืน

หมายถึงน. กลางคืน.

ค้ำชู

หมายถึงก. บำรุงให้เจริญขึ้น, พยุงให้สูงขึ้น.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ