ตัวกรองผลการค้นหา
ฆ้องชัย
หมายถึงน. ฆ้องขนาดใหญ่ สมัยโบราณใช้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ในปัจจุบันใช้ตีในงานพิธีมงคลต่าง ๆ, ฆ้องหุ่ย ก็เรียก.
โองโขดง
หมายถึง[-ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบขึ้นไปเกล้าไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โซงโขดง ก็ว่า.
กระจาย
หมายถึงก. ทำให้แพร่หรือแตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ, แพร่หรือแตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ; แผ่ซ่าน, จางออก, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระจัด กระจุย เป็น กระจัดกระจาย กระจุยกระจาย. (แผลงมาจาก ขจาย).
โมงโมง,โมง
หมายถึงน. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า.
หัวรุนแรง
หมายถึงน. เรียกคนที่มีความคิดเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเอาจริงเอาจังว่า คนหัวรุนแรง. ว. ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นการปฏิบัติ หรือนโยบายเป็นต้น อย่างหักหาญโดยไม่ยอมประนีประนอมใด ๆ.
กระดิบ,กระดิบ ๆ
หมายถึงก. อาการที่คืบไปทีละน้อย เช่น ค่อย ๆ กระดิบไป ว่ายนํ้ากระดิบ ๆ หนอนกระดิบ ๆ ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระดุบ เป็น กระดุบกระดิบ.
กระแท่น
หมายถึงก. แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คำใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น.
ฤกษ์
หมายถึง[เริก] น. คราวหรือเวลาที่กำหนดหรือคาดว่าจะให้ผล เช่น ฤกษ์ดี ฤกษ์ร้าย, มักนิยมใช้ในทางดี เช่นหาฤกษ์แต่งงาน หาฤกษ์ยกเสาเอก. (ส.).
เรือฉลอม
หมายถึงน. เรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือกระแชง หัวท้ายงอนเรียว กลางป่อง ตัวเรือเป็นเหลี่ยม กระดานข้างเรือเป็นทับเกล็ด นิยมใช้ตามหัวเมืองชายทะเลแถบปากอ่าว สำหรับบรรทุกสินค้าหรือหาปลา สมัยโบราณเวลาเกิดศึกสงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปใช้ในราชการทัพด้วย อาจติดใบหรือไม่ก็ได้.
ปุนภพ
หมายถึง[ปุนะพบ] น. ภพใหม่, การเกิดใหม่. (ป. ปุนพฺภว); สมัยเกิดใหม่ ได้แก่ตอนเริ่มต้นยุคปัจจุบันหลังยุคกลาง.
ยุทธหัตถี
หมายถึงน. การต่อสู้กันด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นวิธีการรบอย่างกษัตริย์ในสมัยโบราณ เช่น พระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา, การชนช้าง ก็ว่า.
ร้อยชั่ง
หมายถึงน. จำนวนเงิน ๘,๐๐๐ บาท ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมากในสมัยหนึ่ง, โดยปริยายหมายถึงลูกสาวที่พ่อแม่สงวนอย่างมีค่าเท่ากับเงิน ๑๐๐ ชั่ง.