ค้นเจอ 343 รายการ

โรยหน้า

หมายถึงก. เอาของโปรยลงไปบนอาหารเป็นต้นเพื่อให้น่ากินหรือชูรส เช่น โรยหน้าขนมด้วยมะพร้าว, โดยปริยายหมายความว่า แต่งแต่เพียงผิว ๆ.

สุภาพชน

หมายถึงน. ผู้ที่แต่งกายเรียบร้อย, ผู้ที่มีกิริยามารยาทอ่อนโยน พูดจาเรียบร้อย รู้กาลเทศะ, เช่น สุภาพชนย่อมไม่ส่งเสียงดังในห้องสมุด.

อนุประโยค

หมายถึงน. ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค.

กระแสะ

หมายถึงว. เพลีย, โผเผ, ไม่มีกำลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิวกระแสะ ๆ ไป. (ดิกชนารีไทย), และใช้เข้าคู่กับคำ กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ.

ตองตอย

หมายถึงว. ซอมซ่อ (มักใช้แก่การแต่งกาย), กรองกรอย ก็ว่า; (โบ) แคระ, ไม่สมประกอบ, ไม่สมบูรณ์, (ใช้แก่ต้นไม้ที่ไม่เจริญสมอายุ).

โวหาร

หมายถึงน. ชั้นเชิงหรือสำนวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคำที่เล่นเป็นสำบัดสำนวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร. (ป.).

ผมมหาดไทย

หมายถึง(โบ) น. ทรงผมผู้ชายที่โกนรอบศีรษะ แต่ไว้ยาวตรงกลางกระหม่อม แล้วหวีแต่งเรือนผมตามแต่จะเห็นงาม, ผมหลักแจว ก็ว่า.

ผมทรงมหาดไทย

หมายถึง(โบ) น. ทรงผมผู้ชายที่โกนรอบศีรษะ แต่ไว้ยาวตรงกลางกระหม่อม แล้วหวีแต่งเรือนผมตามแต่จะเห็นงาม, ผมหลักแจว ก็ว่า.

กระแท่น

หมายถึงก. แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คำใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น.

ดนตรีกรรม

หมายถึง(กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว.

วัตถุดิบ

หมายถึงน. สิ่งที่เตรียมไว้เพื่อผลิตหรือประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูป; โดยปริยายหมายถึงเรื่องราว ประสบการณ์ เป็นต้น ที่นักเขียนเสาะหาหรือตระเตรียมสะสมไว้เพื่อแต่งหนังสือ.

สุตกวี

หมายถึง[สุตะกะวี, สุดตะกะวี] น. กวีผู้มีความสามารถในการแต่งร้อยกรองตามที่ได้ยินมา. (ป.; ส. ศฺรุต).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ