ตัวกรองผลการค้นหา
ตีน
หมายถึงน. อวัยวะส่วนล่างสุดของคนหรือสัตว์ นับตั้งแต่ใต้ข้อเท้าลงไป สำหรับยืนหรือเดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นหรือส่วนล่างของสิ่งบางอย่าง เช่น ตีนม่าน ตีนมุ้ง; ชาย, เชิง, เช่น ตีนท่า ตีนเลน.
สงสัย
หมายถึงก. ไม่แน่ใจในข้อเท็จจริง เช่น สงสัยว่าทำดีจะได้ดีจริงหรือ, ลังเล เช่น เมื่อเดินไปถึงทาง ๒ แพร่ง สงสัยว่าจะไปทางไหนจึงจะถูก; ทราบไม่ได้แน่ชัด, เคลือบแคลง, เช่น สงสัยว่าคำตอบข้อไหนถูก สงสัยว่าเขาจะเป็นขโมย; เอาแน่ไม่ได้ เช่น สงสัยว่าเขาจะมาหรือไม่มา. (ป. สํสย; ส. สํศย).
จริง,จริง ๆ
หมายถึง[จิง] ว. แน่ เช่น ทำจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝันกลายเป็นความจริง.
หล็อน,หล็อน ๆ
หมายถึงว. น้อยไป, เล็กไป, เช่น ของนี้หล็อนมือ, ไม่สมส่วน เช่น แจกันใบใหญ่ มีดอกไม้ปักอยู่ ๒-๓ ดอก ดูแล้วหล็อนตา; รู้สึกว่าไม่เป็นไปตามที่ควรจะมีจะเป็น เช่น เคยสวมนาฬิกาข้อมือทุกวัน แต่วันนี้ลืมสวม เลยรู้สึกหล็อน ๆ มือ.
เดือย
หมายถึงน. อวัยวะของไก่ตัวผู้และนกบางชนิด มีรูปเรียวแหลม งอกขึ้นที่เหนือข้อตีนเบื้องหลัง; แกนที่ยื่นออกมาสำหรับเอาของอื่นสวม เช่น เดือยโม่ เดือยหัวเสา, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่ยื่นออกมามีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
ทาน,ทาน,ทาน-
หมายถึง[ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).
เสนาธิการ
หมายถึงน. ตำแหน่งนายทหารผู้ทำหน้าที่หาและให้ข่าวสารประมาณการ ให้ข้อเสนอแนะ ทำแผนและคำสั่ง กำกับดูแลทางฝ่ายอำนวยการ และติดต่อประสานงานระหว่างผู้บังคับบัญชากับหน่วยทหาร แต่ไม่มีหน้าที่สั่งการบังคับบัญชาหน่วยทหาร.
เส้นลึก
หมายถึงว. ที่ทำให้รู้สึกขันหรือหัวเราะได้ยาก เช่น เขาเป็นคนเส้นลึก แม้จะได้ยินเรื่องขำขันอย่างไรก็ไม่หัวเราะ; อาการที่เก็บความรู้สึกได้ดีจนยากที่จะสังเกตได้ว่าพอใจหรือไม่พอใจสิ่งใด เช่น เขาจับเส้นเจ้านายไม่ถูก เพราะเป็นคนเส้นลึกมาก. น. เส้นที่อยู่ในตำแหน่งลึกของร่างกาย เช่นอยู่ชิดหรือใกล้ซอกกระดูกหรือในท้อง ทำให้กดหรือจับยาก.
เลินเล่อ
หมายถึงก. ขาดความระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทำ เช่น เด็กคนนี้เลินเล่อ ทำกระเป๋าสตางค์หล่นหายโดยไม่รู้ตัว. ว. อาการที่ขาดความระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทำ เช่น นาย ก ทำงานเลินเล่อ มีข้อผิดพลาดมาก.
โลกวัชชะ
หมายถึง[โลกะ-] น. โทษทางโลก, อาบัติที่เป็นโทษทางโลก, ข้อเสียหายที่ชาวโลกติเตียนว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ คือ สิ่งที่ภิกษุหรือคนทั่วไปที่ไม่ใช่ภิกษุทำ ก็เป็นความผิดความเสียหายเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทะเลาะวิวาท. (ป.).
กระดูกสันหลัง
หมายถึงน. กระดูกที่อยู่ในแนวกึ่งกลางทางด้านหลังของลำตัว เป็นแกนของร่างกาย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันเป็นแนวตั้งแต่บริเวณคอต่อจนถึงบริเวณด้านหลังของทวารหนัก ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่ไขสันหลัง, โดยปริยายหมายถึงส่วนที่สำคัญ, ส่วนที่เป็นพลังคํ้าจุน, เช่น ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ.
ทิฏฐุชุกรรม
หมายถึง(แบบ) น. การทำความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).