ตัวกรองผลการค้นหา
คำพ้องเสียง
หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์
จะ
หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น.
คุณลักษณะ
หมายถึง[คุนนะ-] น. เครื่องหมายหรือสิ่งที่ชี้ให้เห็นความดีหรือลักษณะประจำ.
มะเส็ง
หมายถึงน. ชื่อปีที่ ๖ ของรอบปีนักษัตร มีงูเล็กเป็นเครื่องหมาย.
กิมตึ๋ง
หมายถึงน. ชื่อเครื่องหมายถ้วยปั้นชนิดหนึ่งที่สั่งมาจากประเทศจีน. (จ.).
คะแนน
หมายถึงน. เครื่องหมายในการนับ, หน่วยที่ใช้กำหนดค่าในการสอบหรือแข่งขันเป็นต้น.
กริยาวิเศษณ์
หมายถึง(ไว) น. คำวิเศษณ์ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันให้มีความแปลกออกไป.
จั๊วะ
หมายถึงว. คำแต่งคำ ขาว ให้รู้ว่าสีขาวมาก, จ๊วก ก็ว่า.
ติดปาก
หมายถึงก. ใช้คำใดคำหนึ่งบ่อย ๆ จนเป็นนิสัย.
นั่นเอง
หมายถึงคำประกอบคำอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เขานั่นเอง.
แปลยกศัพท์
หมายถึงก. ยกคำบาลีขึ้นมาแปลเป็นไทยไปทีละคำ.
ธรรม
หมายถึงคำประกอบท้ายคำที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไปจากคำศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.