ค้นเจอ 600 รายการ

เศียร

หมายถึง[เสียน] น. หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร; ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.

อกตเวทิตา

หมายถึง[อะกะตะ-] น. ความเป็นผู้ไม่ประกาศอุปการคุณที่ท่านทำแก่ตน, ความเป็นผู้ไม่ตอบแทนอุปการคุณที่ท่านได้ทำแก่ตน, เป็นคำคู่กันกับ อกตัญญุตา. [ป. อ ว่า ไม่ + กต ว่า (อุปการะ) ที่ท่านทำแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ + ตา ว่า ความเป็น].

ชวด

หมายถึง(ปาก) น. พ่อหรือแม่ของปู่ ย่า ตา ยาย, ทวด ก็ว่า.

ภควัม

หมายถึง[พะคะ-] น. พระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์ควํ่าและปิดทวารทั้ง ๙ คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑, โดยปริยายใช้เรียกคนที่ทำหน้าควํ่าหน้างอไม่รับแขกว่า ทำหน้าเป็นภควัม หรือหน้าควํ่าเป็นภควัม; หินชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปร่างอย่างนั้น.

อินทรียสังวร

หมายถึงน. ความสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. (ป.).

พระอัยกา, พระไอยกา (เขียนแบบเก่า)

หมายถึงปู่ / ตา ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และเจ้านายหมายถึง ปู่และตา ที่มิใช่พระมหากษัตริย์ หรือแม้มิใช่เจ้านาย

ครุ

หมายถึง[คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).

ตรีโลจน์

หมายถึงน. พระศิวะ. (ส. ตฺริโลจน ว่า มี ๓ ตา).

ทวด

หมายถึงน. พ่อหรือแม่ของ ปู่ ย่า ตา ยาย, ชวด ก็ว่า.

จักขุ,จักขุ-

หมายถึงน. ตา. (ป.; ส. จกฺษุ).

ฉทวาร

หมายถึง[ฉะทะวาน] น. ทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ.

ทวารทั้งเก้า

หมายถึงน. ช่องตามร่างกายทั้ง ๙ ช่อง ได้แก่ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ