ค้นเจอ 332 รายการ

เปศละ

หมายถึง[เปสะละ] ว. ซึ่งประดับตกแต่งโดยฝีมือช่าง; งาม, สวย, น่ารัก, น่าชอบใจ, อ่อน, น่วม, ละมุนละม่อม; เก่ง, ชำนาญ, เชี่ยวชาญ, มีเล่ห์กล, มีอุบาย. (ส.).

เผละผละ

หมายถึงว. อ้วนจนเนื้อเหลวไม่มีรูปมีทรง เช่น อ้วนเผละผละ.

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

หมายถึง(กฎ) น. ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับประเมินผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น.

ไม่มีวันเสียละ

หมายถึง(ปาก) ว. ไม่มีทางจะเป็นไปได้.

เรือกอและ

หมายถึงน. เรือประมงตามชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ รูปร่างยาวเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง เขียนลวดลายสีสันต่าง ๆ ไว้อย่างสวยงาม.

ล้มละลาย

หมายถึงก. สิ้นเนื้อประดาตัว, หมดทรัพย์สมบัติของตัว; (กฎ) มีหนี้สินล้นพ้นตัว และศาลได้มีคำพิพากษาให้ล้มละลาย.

ละขัดละขืน

หมายถึง(กลอน) ก. ขัดขืน; ห้าวหาญ.

ละครดึกดำบรรพ์

หมายถึงน. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยาอาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะงดงามสง่าภาคภูมิ เช่น ละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).

ละครใน

หมายถึงน. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท.

ละครวิทยุ

หมายถึงน. ละครพูดที่แสดงทางวิทยุ มักมีเพลงประกอบ.

ละม่อม

หมายถึงว. สุภาพ, อ่อนโยน, (ใช้แก่กิริยาอาการที่เรียบร้อย งดงาม ไม่ขัดเขิน ไม่กระด้าง), มักใช้เข้าคู่กับคำ ละมุน เป็น ละมุนละม่อม หมายความว่า อ่อนโยน นิ่มนวล; โดยไม่มีการขัดขืน (ใช้แก่การจับกุม) เช่น ตำรวจจับผู้ร้ายได้โดยละม่อม.

ละมุ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. กลุ่มต้นไม้เล็ก ๆ ตามชายห้วย หนอง บึง.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ