ค้นเจอ 252 รายการ

ตีนเป็ด

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในวงศ์ Apocynaceae คือ ชนิด Alstonia scholaris (L.) R. Br. ใบออกรอบข้อ ๔-๗ ใบ ผลเป็นฝักยาว ๒ ฝัก, สัตบรรณ หรือ พญาสัตบรรณ ก็เรียก; และ ตีนเป็ดน้ำ (Cerbera odollam Gaertn.) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง มักขึ้นตามชายนํ้า ดอกสีขาว ผลกลม.

เสียว

หมายถึงก. รู้สึกแปลบเพราะเจ็บ เช่น รู้สึกเสียวที่ข้อเท้าเพราะเท้าแพลง, เกิดอาการที่ทำให้ขนลุกหรือกลัว เช่น เดินเข้าไปในป่าช้าเวลาค่ำ ๆ ได้ยินเสียงแกรกกรากก็รู้สึกเสียว พอเห็นเข็มฉีดยาก็เสียวเสียแล้ว, รู้สึกวาบในหัวใจด้วยความกำหนัด; โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกเกรง เช่น เขาไม่ได้ส่งการบ้านเสียวอยู่ตลอดเวลาว่าครูจะเรียกไปลงโทษ.

ญัตติ

หมายถึงน. คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คำเผดียงสงฆ์ ก็ว่า; ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่; หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. (ป.).

ผู้อุปการะ

หมายถึง(กฎ) น. ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หมายความถึง (๑) ผู้ที่ได้อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาผู้ตายมาแต่เยาว์ฉันบิดามารดากับบุตร หรือ (๒) ผู้ที่ได้อุปการะข้าราชการประจำหรือข้าราชการบำนาญผู้มีรายได้ไม่เพียงพอแก่อัตภาพ หรือได้อุปการะข้าราชการบำนาญผู้ซึ่งป่วยเจ็บทุพพลภาพหรือวิกลจริตไม่สามารถที่จะช่วยตัวเองได้ ผู้อุปการะตามข้อนี้ต้องเป็นผู้ให้อุปการะประจำเป็นส่วนใหญ่.

ศาลปกครอง

หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ตามที่กฎหมายบัญญัติอันได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทางปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน.

ส้อม

หมายถึงน. เหล็ก ๒ ง่าม ปลายแหลม ใช้แทงปลาเป็นต้น; เครื่องใช้จิ้มอาหารกิน, คู่กับ ช้อน; ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับเสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อ ๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลมดังกล่าวว่า อ้อยส้อม. ก. ปาด เหลา หรือเจียน เช่น ส้อมงวงมะพร้าว.

วงเล็บ

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สำหรับใช้กันข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บนั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ (ความอยากได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็นหัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรมสามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 - b2 = (a + b)(a - b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.

เดาะ

หมายถึงก. โยนสิ่งของขึ้นแล้วเอาไม้หรือมือตีรับให้กระท้อนขึ้น. ว. ร้าวจวนจะหัก เช่น ไม้คานเดาะ แขนเดาะ; เติมลงนิดหน่อยเพื่อให้คุณภาพเด่นขึ้น เช่น จืดไปเดาะเกลือลงไปหน่อย; (ปาก) โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่กำลังจะดี แต่กลับมีข้อบกพร่องเสียกลางคัน, ใช้เป็นคำแทนกริยาหมายความว่า ทำแปลกกว่าธรรมดาสามัญ เช่น ร้อนจะตายเดาะเสื้อสักหลาดเข้าให้.

โรงรับจำนำ

หมายถึงน. สถานที่รับจำนำสิ่งของ, ถ้าเป็นของเทศบาลหรือกรุงเทพมหานคร เรียกว่า สถานธนานุบาล, ถ้าเป็นของกรมประชาสงเคราะห์ เรียกว่า สถานธนานุเคราะห์; (กฎ) สถานที่รับจำนำซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และหมายความรวมตลอดถึงการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สำหรับสิ่งของนั้นเป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย.

จิ้มฟันจระเข้

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลและนํ้าจืดทุกชนิดในวงศ์ Syngnathidae ปากยื่นเป็นท่อ ลำตัวหน้าตัดเป็นเหลี่ยมแต่ยาวเรียวมาก ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นข้อ ครีบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก เฉพาะครีบท้องไม่มี ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่โดยเก็บไว้บริเวณหน้าท้อง ลำตัวมักมีสีนํ้าตาล อาจมีลายสีเข้มพาดขวาง ที่พบในนํ้าจืดได้แก่ ชนิด Microphis boaja ส่วนในทะเลได้แก่ชนิดในสกุลต่าง ๆ เช่น Doryrhamphus, Corythoichthys, Trachyramphus.

เรื้อน

หมายถึงน. โรคผิวหนังซึ่งติดต่อได้ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่น บางทีเรียกว่า ขี้เรื้อน มีหลายชนิด บางชนิดทำให้นิ้วมือนิ้วตีนกุด เรียกว่า เรื้อนกุฏฐัง ขื้เรื้อนกุฏฐัง หรือ ขี้ทูด, บางชนิดมีลักษณะเป็นผื่นคัน ทำให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ดในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือที่มือเอื้อมไปเกาถึง เรียกว่า เรื้อนกวาง หรือ ขี้เรื้อนกวาง, บางชนิดทำให้เป็นแผลมีสีขาว เรียกว่า เรื้อนนํ้าเต้า หรือ ขี้เรื้อนน้ำเต้า.

วิจาร,วิจารณ,วิจารณ-,วิจารณ์

หมายถึง[วิจาน, วิจาระนะ-, วิจาน] ก. ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ