ค้นเจอ 273 รายการ

สู้

หมายถึงก. เอาชนะกันด้วยกำลังกาย อาวุธ หรือสติปัญญาความสามารถเป็นต้น เช่น ชกสู้เขาไม่ได้จึงยอมแพ้ ทหารสู้กันในสนามรบ เล่นหมากรุกสู้กัน; มีสติปัญญาความสามารถเป็นต้นทัดเทียมกันหรือเหนือกว่า เช่น มีสติปัญญาสู้เขาได้; ยอมทน เช่น พูดไปก็ไม่ดี สู้นิ่งไม่ได้.

ฉัททันต์

หมายถึง(แบบ) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูลเรียกว่า ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ดู กาฬาวก); ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).

กาน

หมายถึงก. ตัดเพื่อให้แตกใหม่ เช่น กานต้นมะขาม, ตัดเพื่อให้ลำต้นเปลา เช่น กานต้นสน; ควั่นเปลือกและกระพี้ต้นไม้เพื่อให้ยืนต้นตาย เช่น กานต้นสัก, ควั่นเปลือกและกระพี้ต้นไม้เพื่อให้มีลูก เช่น กานต้นมะพร้าว.

เล่อล่า

หมายถึงว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเล่อล่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเล่อล่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเล่อล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเล่อล่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อกะล่า หรือ เร่อร่า ก็ว่า.

กะเล่อกะล่า

หมายถึงว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเล่อกะล่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเล่อกะล่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเล่อกะล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเล่อกะล่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.

เหม,เหม-

หมายถึง[เหมะ-] น. ทองคำ; ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า เหมหัตถี กายสีเหลืองดั่งทอง. (ดู กาฬาวก). (ป.); เรียกฝาหีบหรือภาชนะบางอย่างซึ่งมียอดแหลมปิดทอง; เรียกส่วนยอดปราสาทที่อยู่ระหว่างบัลลังก์กับบัวกลุ่ม.

เว้ย

หมายถึงว. คำลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ในลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, โว้ย ก็ว่า.

ป่า

หมายถึงน. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็นต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้น เช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า; (กฎ) ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน; เรียกปลากัดหรือปลาเข็มที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติว่า ลูกป่า; (โบ) เรียกตำบลที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว. ว. ที่ได้มาจากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกลความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. ก. ตีดะไป ในคำว่า ตีป่า.

โปรด

หมายถึง[โปฺรด] ก. ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น โปรดสิ่งสวยงาม, แสดงความเมตตากรุณาโดยปลดเปลื้องความเดือดร้อนเป็นต้น เช่น โปรดข้าพเจ้าสักครั้ง, ใช้ประกอบหน้ากริยา แสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น โปรดนั่งนิ่ง ๆ. ว. ที่ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น คนโปรด ของโปรด. (ข. โปฺรส).

ละครร้อง

หมายถึงน. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจาตามเนื้อเพลงที่ตัวละครร้องจบไป มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า.

คล้อย

หมายถึง[คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กำหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียกอาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.

สากล

หมายถึงว. ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น สากลโลก สากลจักรวาล; เป็นที่นิยมทั่วไป เช่น เครื่องแต่งกายชุดสากล, สามัญหมายถึงแบบซึ่งเดิมเรียกว่า ฝรั่ง เช่น มวยฝรั่ง เรียก มวยสากล, ใช้แทนคำ “ระหว่างประเทศ” ก็มี เช่น สภากาชาดสากล น่านน้ำสากล. (ป., ส. สกล).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ