ตัวกรองผลการค้นหา
พูดคล่องเหมือนล่องน้ำ
หมายถึง(สำ) ก. พูดไม่ติดขัด เช่น สารพัดพูดคล่องเหมือนล่องนํ้า. (ไกรทอง), พูดคล่องเป็นล่องนํ้า ก็ว่า.
กระหยับ
หมายถึง(กลอน) ก. ขยับ เช่น มือถือธนูกระหยับลั่น. (รามเกียรติ์ ร. ๑; ไกรทอง; สรรพสิทธิ์). (แผลงมาจาก ขยับ).
ทันตแพทย์
หมายถึง[ทันตะ-] น. แพทย์ผู้มีหน้าที่ตรวจรักษาโรคทางฟัน เหงือก ขากรรไกร และโรคภายในช่องปาก.
กรรดิ
หมายถึง[กัด] ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, เช่น ยาคนชี้เทพยผู้ ไกรกรรดิ ก็ดี. (ยวนพ่าย). (เลือนมาจาก ป. กตฺถติ ว่า ยกย่อง, สรรเสริญ).
ขาดกัน
หมายถึงก. แยกจากกัน ไม่คบค้าสมาคมกันต่อไป เช่น แม้นมิยกพลไกรไปช่วย ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย. (อิเหนา).
ซื้อหน้า
หมายถึงก. เสนอหน้า, สำแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้. (ไกรทอง); กู้หน้า เช่น ยอมเสียเงินเพื่อซื้อหน้า.
ตัวเป็นเกลียว
หมายถึง(สำ) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็นเกลียว. (ไกรทอง).
เขี้ยวแก้ว
หมายถึงน. เขี้ยวของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว; เขี้ยวของงูพิษ อยู่บริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบน มีขนาดใหญ่และยาว เช่น งูจงอาง งูเห่า งูเขียวหางไหม้, ถ้าอยู่บริเวณท้ายขากรรไกรบน เรียกว่า เขี้ยวแก้วใน หรือ เขี้ยวแก้วใต้ตา เช่น งูปล้องทอง งูเขียวหัวจิ้งจก; เขี้ยวที่งอกอยู่กลางเพดานปากของหนุมาน.
ทยา
หมายถึง[ทะ-] ว. ดี, สำคัญ, ต้องการ, เช่น ของทยาของเจ้าตะเภาทอง. (ไกรทอง), กูจะให้ขนมเข่งของทยา กินอร่อยหนักหนาประสาจน. (สังข์ทอง), ทายา ก็ใช้.
ลิ้นกระด้างคางแข็ง
หมายถึงก. อาการลิ้นแข็งขยับขากรรไกรไม่ได้. (สำ) ว. ก้าวร้าวโต้เถียงไม่ลดละ เช่น ลิ้นกระด้างคางแข็งแกล้งว่าขาน. (ขุนช้างขุนแผน); มึนตึงไม่ยอมพูดจาโต้ตอบ.
บ้าบ่น
หมายถึงน. เพลงไทย ๒ ชั้นของเก่า ใช้มโหรีเป็นเครื่องรับ ทำตอนเสี่ยง เช่น ตอนไกรทองเสกกระทงเสี่ยงลอยไปในพิธีจับชาละวัน, กระทงลอย หรือ กระทงน้อย ก็เรียก.
กระทงลอย
หมายถึงน. เพลงไทย ๒ ชั้นของเก่า ใช้เครื่องรับมโหรี ทำตอนเสี่ยง เช่น ตอนไกรทองเสกกระทงเสี่ยงลอยไปในพิธีจับชาละวัน, กระทงน้อย หรือ บ้าบ่น ก็เรียก.