ค้นเจอ 43 รายการ

แพ้ท้อง

หมายถึงว. อาการของผู้หญิงที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อแรกตั้งครรภ์ มีอาการคลื่นเหียนอาเจียนเป็นต้น.

สูตินรีเวช

หมายถึง[-นะรีเวด] น. วิชาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอด และโรคเฉพาะสตรี.

คลอด

หมายถึง[คฺลอด] ก. ออกลูก, ออกจากครรภ์, ราชาศัพท์ว่า ประสูติ; (ปาก) ออก เช่น กฎหมายใหม่ยังไม่คลอด.

โทหฬินี

หมายถึง[โทหะ-] (แบบ) น. หญิงมีครรภ์, หญิงแพ้ท้อง. (ป.; ส. เทาหฺฤทินี).

แท้ง

หมายถึงก. สิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนกำหนดคลอด โดยที่ลูกในท้องไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้.

เบญจคัพย์

หมายถึงน. เต้านํ้า อยู่ในหมู่ของใช้ในการพระราชพิธี ตามราชประเพณีของไทยใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ทรงรับนํ้าอภิเษกหรือใส่นํ้าเทพมนตร์ ซึ่งจะรดถวายให้แก่พระมหากษัตริย์ หรือพระมหากษัตริย์ทรงรดพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าซึ่งมีพระชนนีเป็นเจ้า, บางแห่งเขียนว่า เบญจครรภ.

โทหฬะ

หมายถึง[-หะละ] (แบบ) น. ความปรารถนาของหญิงตั้งครรภ์, ความแพ้ท้อง. (ป.; ส. โทหล, โทหท).

ท้องหมู

หมายถึงน. หน้าท้องมีไขมันมากอย่างท้องคนอ้วน, เรียกครรภ์ของหญิงที่มีลักษณะใหญ่มาก.

กลละ

หมายถึง[กะละละ] (แบบ) น. รูปเริ่มแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เช่น ผู้หญิงอันมีครรภ์ด้วยชลามพุชโยนิ เมื่อแรกก่อเป็นนั้นน้อยนักหนา เรียกชื่อว่า กลละหัวปีมีเท่านี้. (ไตรภูมิ). (ป., ส.).

อุหลบ

หมายถึง[อุหฺลบ] น. ระดู, (ราชา) พระอุหลบ. (เทียบ ส. อุลฺพ, อุลฺว ว่า รกหุ้มทารก, ครรภ์).

กรรมชวาต

หมายถึง[กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรงจับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม).

ท้อง

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา มีสะดืออยู่ตรงกลาง มีกระเพาะและไส้พุงอยู่ภายใน; ครรภ์ เช่น น้องร่วมท้อง; พื้นที่หรือบริเวณที่กว้างใหญ่ เช่น ท้องนํ้า ท้องฟ้า ท้องทุ่ง ท้องไร่ ท้องนา ท้องถนน; ส่วนที่มีลักษณะโค้ง เช่น ท้องแขน ท้องน่อง ท้องเรือ ท้องร่อง. ก. มีลูกอยู่ในท้อง, ตั้งครรภ์.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ