ค้นเจอ 72 รายการ

ไม้

หมายถึงน. คำรวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของต้นไม้ที่ใช้ทำสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คำประกอบหน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทำด้วยไม้หรือเดิมทำด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คำนำหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดำ ไม้แดง, ท่ารำและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็นตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอด เป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.

ไม้

หมายถึงน. ชื่อเครื่องหมายกำกับตัวอักษร เพื่อบอกระดับเสียง เช่น ๋ เรียกว่า ไม้จัตวา, เพื่อบอกชนิดสระ เช่น ไ เรียกว่า ไม้มลาย, เพื่อให้อ่านซํ้า คือ ๆ เรียกว่า ไม้ยมก, หรือเพื่อไม่ให้ออกเสียงอ่าน คือ ์ เรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต.

รังกล้วยไม้

หมายถึงน. ที่เพาะเลี้ยงกล้วยไม้จำนวนมาก.

ลูกไม้

หมายถึงน. ผลไม้, ลักษณนามว่า ผล.

ลูกไม้

หมายถึงน. ท่ามวยหรือกระบี่กระบองซึ่งมีพลิกแพลงเป็นพิเศษจากท่าธรรมดา; เล่ห์เหลี่ยม, กลเม็ด.

ไสไม้

หมายถึงก. กดกบลงบนไม้แล้วดันกบเพื่อทำให้หน้าไม้เรียบ ให้เป็นราง หรือลอกบัว ลอกลวด เป็นต้น, ไสกบ ก็เรียก.

หน้าไม้

หมายถึงน. วิธีคิดเลขเพื่อให้รู้ว่าไม้มีกี่ยก; เครื่องยิงชนิดหนึ่ง มีคันและราง ยิงด้วยลูกหน้าไม้.

ขับไม้

หมายถึงน. การเล่นดนตรีอย่างหนึ่ง มีคนเล่น ๓ คนด้วยกัน คนหนึ่งขับร้องลำนำ คนหนึ่งสีซอ ๓ สายประสานเสียง คนหนึ่งไกวบัณเฑาะว์ให้จังหวะ; ชื่อคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ใช้โคลงกับกาพย์สุรางคนางค์สลับกัน.

ชะนีร่ายไม้

หมายถึงน. ท่าละครท่าหนึ่ง.

ท้องไม้

หมายถึงน. ส่วนกลางของฐานที่เป็นหน้าเรียบ.

เบิกไม้

หมายถึงน. พิธีเซ่นผีป่าหรือรุกขเทวดาก่อนจะตัดไม้ใหญ่ในป่าสูง.

เพ็จไม้

หมายถึงน. ไม้ไผ่ลำเล็กกว่าลำอื่น ๆ เนื้อเหนียวแข็ง. (พจน. ๒๔๙๓).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ