ตัวกรองผลการค้นหา
ขอบ
หมายถึงน. ริมรอบ เช่น ขอบโต๊ะ, ริมที่ยกให้สูงขึ้นโดยรอบ เช่น ขอบสระ ขอบถนน.
ลิ้นชัก
หมายถึงน. ส่วนที่สอดอยู่ในช่องด้านหน้าตู้และโต๊ะเป็นต้น รูปคล้ายหีบไม่มีฝา ชักออกและผลักเข้าได้.
มน
หมายถึงว. กลม ๆ, โค้ง ๆ, ไม่เป็นเหลี่ยม, เช่น ทองหลางใบมน ขอบโต๊ะมน ปกเสื้อมน.
ฉลองพระหัตถ์
หมายถึง(ราชา) น. ช้อนส้อม, ตะเกียบ, มีดสำหรับโต๊ะอาหาร, ใช้ว่า ฉลองพระหัตถ์ช้อนส้อม ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ ฉลองพระหัตถ์มีด.
เท้าสิงห์
หมายถึงน. เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ที่แกะเป็นรูปตีนสิงห์; ชื่อลายสลักทำเป็นรูปตีนสิงห์.
ทับ
หมายถึง(โบ) น. โทน, ชาวพื้นเมืองปักษ์ใต้ยังคงเรียกโทนชาตรีว่า ทับ เช่นที่ใช้ประโคมในการแสดงหนังตะลุง มโนราห์ และโต๊ะครึม.
แร
หมายถึงว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแรไว้บนโต๊ะไม่มีคนกิน ของวางแรไม่มีคนซื้อ, แลก็ว่า.
แง่
หมายถึงน. ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา เช่น แง่หิน แง่โต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เหลี่ยม, ชั้นเชิง, เช่น ชาวแพแผ่แง่ค้าขายของ. (นิ. นรินทร์), นัย.
คร่อม
หมายถึง[คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการเช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
ล่องหน
หมายถึงก. หายตัวไปด้วยเวทมนตร์, มักใช้เข้าคู่กับคำ หายตัว เป็น ล่องหนหายตัว คือ ไม่ปรากฏให้เห็นตัว, โดยปริยายหมายความว่า หายไปโดยไม่มีร่องรอย เช่น กระเป๋าสตางค์บนโต๊ะล่องหนไปแล้ว.
แท่นลา
หมายถึงน. แท่นสี่เหลี่ยมที่ทำขึ้นเพื่อเคลื่อนย้ายไปตั้งในพิธีต่าง ๆ ได้ตามประสงค์ มีขนาดกว้างยาวพอตั้งพระเก้าอี้และโต๊ะเครื่องราชูปโภคเป็นต้น สูงประมาณ ๖-๘ นิ้ว.
คันฉ่อง
หมายถึงน. เครื่องใช้ทำด้วยโลหะ ขัดจนเป็นเงา มีด้าม ใช้สำหรับส่องหน้า; ปัจจุบันเรียกกระจกเงามีกรอบ ๒ ชั้น สำหรับเอนเข้าออกได้ ตั้งบนโต๊ะเครื่องแป้ง.