ตัวกรองผลการค้นหา
เทศบัญญัติ
หมายถึง(กฎ) น. บทกฎหมายที่เทศบาลตราขึ้นเพื่อใช้บังคับภายในเขตเทศบาลนั้น.
โทษทางอาญา
หมายถึง(กฎ) น. มาตรการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา ได้แก่ การประหารชีวิต การจำคุก การกักขัง การปรับและการริบทรัพย์สิน.
ธงมหาราชใหญ่
หมายถึง(กฎ) น. ธงสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงสีเหลือง มีรูปพระครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง.
ธัญชาติ
หมายถึงน. คำรวมเรียกข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาลี, ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาว่ามี ๗ อย่าง คือ ๑. ข้าวไม่มีแกลบ ๒. ข้าวเปลือก ๓. หญ้ากับแก้ ๔. ข้าวละมาน ๕. ลูกเดือย ๖. ข้าวแดง ๗. ข้าวฟ่าง.
ธัญเบญจก
หมายถึง[ทันยะเบนจก] น. ธัญชาติทั้ง ๕ ได้แก่ ๑. ศาลิ-ข้าวสาลี ๒. วฺรีหิ-ข้าวเปลือก ๓. ศูก-ลูกเดือย ๔. ศิมฺพี-ถั่ว ๕. กฺษุทฺร-ข้าวกษุทร. (ป. -ปญฺจก).
ธัญมาส
หมายถึง(โบ) น. มาตราตวง เท่ากับ ๗ อูกา. (ป.).
นักบุญ
หมายถึงน. ผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้วิเศษ, ผู้ที่ทำความดีไว้มากเมื่อตายแล้วได้รับยกย่องว่าเป็นผู้สำเร็จในทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก, ผู้ยินดีในการบุญ.
นิติบัญญัติ
หมายถึง(กฎ) น. การบัญญัติกฎหมาย.
เนื้อนาบุญ
หมายถึงน. แหล่งที่ควรแก่การทำบุญ เช่น พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ.
บัญญัติ
หมายถึง[บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ บัญญัติ ๑๐ ประการ. ก. ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย. (ป. ปญฺตฺติ).
บัญญัติไตรยางศ์
หมายถึงน. วิธีเลขอย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดส่วนสัมพันธ์ของเลข ๓ จำนวนเพื่อหาจำนวนที่ ๔ โดยวิธีเทียบหา ๑ ก่อน แล้วจึงไปหาส่วนที่ต้องการ ด้วยการนำเลขทั้ง ๓ จำนวนที่กำหนดให้และที่ให้หามาคูณหารกันเป็น ๓ ขั้น.
บาตรใหญ่
หมายถึงน. อำนาจที่ใช้ในทางข่มขี่, ใช้เข้าคู่กับ อำนาจ เป็น อำนาจบาตรใหญ่.