ตัวกรองผลการค้นหา
คัว
หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. ทำให้สะอาด, ชำระล้าง, เช่น คัวปลา ว่า ขอดเกล็ดปลาแล้วผ่าท้องล้างให้สะอาด.
จรบน,จรบัน
หมายถึง[จะระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปเบื้องบน, ฟุ้งไป, บินไป, เช่น ด้วยคันธามลกชำระจรบันสระหอมรส. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
ชะ
หมายถึงก. ทำให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดไปหรือหมดไปด้วยนํ้า ในลักษณะและอาการอย่างชะแผล; ชำระล้างด้วยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฝนชะลาน ฝนชะช่อมะม่วง.
กมณฑโลทก
หมายถึง[กะมนทะ-] (แบบ) น. นํ้าในหม้อ เช่น ชำระพระองค์ด้วยกมณฑโลทก. (ม. คำหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อน้ำ + อุทก = นํ้า).
ชาคริยานุโยค
หมายถึง[ชาคะริยานุโยก] น. การประกอบความเพียรเพื่อจะชำระใจให้หมดจดไม่เห็นแก่นอนมากนัก. (ป.; ส. ชาครฺยา + อนุโยค).
เล่าเรียน
หมายถึงก. ท่องบ่น เช่น เล่าเรียนคาถาอาคม, ศึกษาหาความรู้ เช่น เขาเล่าเรียนมา อย่าไปเถียงเขา, เรียกเงินที่ต้องชำระเพื่อศึกษาหาความรู้ว่า ค่าเล่าเรียน.
สินไถ่
หมายถึงน. (กฎ) จำนวนเงินที่ชำระเป็นค่าไถ่ทรัพย์ ที่ทำสัญญาขายฝากไว้คืน; เรียกทาสที่เอาเงินไปซื้อมาว่า ทาสสินไถ่.
ลูบตัว,ลูบเนื้อลูบตัว
หมายถึงก. ก้มตัวลงและราดน้ำชำระร่างกายท่อนบน, วักน้ำลูบหน้าลูบแขนเป็นต้นเพื่อให้คลายร้อน.
กฤดีกา,กฤตยฎีกา
หมายถึง[กฺริ-, กฺริดตะยะ-] แผลงมาจาก กติกา เช่น อันว่าความกฤดีกา แต่สองราแรกทรงพรต. (ม. คำหลวง กุมาร), ชำระกฤตยฎีกา. (ไวพจน์พิจารณ์).
หลักประกัน
หมายถึงน. หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง; สิ่งที่ยึดถือเพื่อความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ใช่คนมั่งมี ก็ควรมีวิชาไว้เป็นหลักประกัน; (กฎ) เงินสดหรือหลักทรัพย์ที่นำมาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยหรือประกันการชำระหนี้.
เบี้ยประกันภัย
หมายถึง(กฎ) น. จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชำระให้แก่ผู้รับประกันภัยตามสัญญา เพื่อที่จะได้รับเงินผลประโยชน์หรือค่าสินไหมทดแทน เมื่อตนเสียชีวิต หรือเมื่อได้รับความเสียหายตามชนิดของภัยที่ได้เอาประกันภัยไว้.
สนิทสนม
หมายถึงก. ชอบพอ, คุ้นเคยกันดี, เช่น สองคนนี้สนิทสนมกันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก. ว. แนบเนียน เช่น เขาพูดเท็จได้อย่างสนิทสนม เขาชำระแผลให้คนเป็นโรคเรื้อนได้อย่างสนิทสนมโดยไม่รังเกียจ.