ตัวกรองผลการค้นหา
กระทง
หมายถึงว. ใช้ควบกับคำ รุ่น ว่า รุ่นกระทง, เรียกไก่อ่อนอายุประมาณ ๓ เดือนว่า ไก่กระทง, ใช้สำหรับเรียกไก่ตัวผู้ที่สอนขันว่า ไก่รุ่นกระทง, โดยปริยายใช้เรียกชายกำลังแตกเนื้อหนุ่มเป็นเชิงเปรียบเปรยว่า หนุ่มรุ่นกระทง.
นอต
หมายถึงน. เครื่องตรึงหรือขันสิ่งอื่นให้แน่น ประกอบด้วยแท่งและแป้นโลหะ, ตัวที่เป็นแท่งมีปลายข้างหนึ่งเป็นปุ่ม อีกข้างหนึ่งมีเกลียวด้านนอก เรียกว่า นอตตัวผู้ และตัวที่เป็นแป้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมมีรูตรงกลางและมีเกลียวด้านใน เรียกว่า นอตตัวเมีย. (อ. nut).
จอก
หมายถึงน. ภาชนะเล็ก ๆ รูปอย่างขัน ถ้าใช้สำหรับตักนํ้าโดยลอยอยู่ในขันใหญ่เรียก จอกลอย, ถ้าใช้ใส่หมากในเชี่ยนหมากเรียก จอกหมาก; ภาชนะเล็ก ๆ รูปทรงกระบอก ใช้กินยา ดื่มเหล้า เป็นต้น; ใช้เป็นลักษณนาม เช่น เหล้า ๓ จอก.
ทวย
หมายถึงน. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค, เรียกว่า คันทวย ก็มี; วัตถุอย่างหนึ่งเป็นคันสำหรับรองส่งเครื่องราชูปโภค เช่น ขันใส่เงินทรงโปรยหรือพระสุพรรณศรีถวายพระมหากษัตริย์จากเบื้องตํ่าสู่ที่ประทับ เรียกว่า พระทวย. ว. ระทวย, อ่อน, งอน.
กุก
หมายถึงว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน. ก. กิริยาที่หนูร้องดังเช่นนั้น เรียกว่า หนูกุก. น. เครื่องดักหนูเป็นหีบมีกระดานหก มีลูกกลิ้ง เมื่อหนูเข้าไปเหยียบกระดานหก ลูกกลิ้งจะกลิ้งมาปิดช่อง แล้วหนูจะกระโดดเข้าไปยังอีกที่หนึ่ง และถูกขังอยู่ในนั้น; เสียงส่งท้ายการขันของนกเขาหลวง ซึ่งอาจมีได้ถึง ๓ กุก.
กระเหลียก
หมายถึง[-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).
กุ้งดีด,กุ้งดีดขัน
หมายถึงน. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Alpheus ในวงศ์ Alpheidae มีก้ามใหญ่ ๒ ข้าง โดยมีก้ามข้างหนึ่งโตกว่า สามารถงับก้ามทำให้เกิดเสียงดังโดยเฉพาะเมื่อกระทบขันเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า กุ้งดีดขัน พบอาศัยหลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในนํ้าเค็มและนํ้ากร่อย ยกเว้นชนิด Alpheus microrhynchus ที่พบอยู่ในนํ้าจืดด้วย, กระเตาะ ก็เรียก.
สอน
หมายถึงก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจโดยวิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอนแม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจำ; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.
มาร,มาร-
หมายถึง[มาน, มาระ-, มานระ-] น. เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ; ยักษ์; ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนาหมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. (ป., ส.).
ครอบ
หมายถึง[คฺรอบ] ก. เอาของที่มีลักษณะคลุ่ม ๆ คล้ายขันควํ่าเป็นต้นปิดงำไว้ เช่น เอาฝาชีครอบ เอากะลาครอบ. น. แก้วรูปลูกฟักตัดสำหรับครอบพระพุทธรูปหรือเครื่องบูชาเป็นต้น; ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปทรงคล้ายลูกฟักหรือคล้ายน้ำเต้า มีเชิง ฝาครอบเป็นรูปทรงหัวเม็ดทรงมัณฑ์เป็นต้น สำหรับใส่น้ำมนต์.
ระนาดเอก
หมายถึงน. ระนาดที่มีเสียงแกร่งกว่าระนาดทุ้ม ลูกระนาดโดยมากทำด้วยไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน หรือไม้มะหาด ฝานหัวท้ายและท้องตอนกลาง โดยปรกติมี ๒๑ ลูก รางระนาดมีรูปทรงคล้ายเปลญวน หัวตัดท้ายตัด มีเท้ารูปสี่เหลี่ยมคล้ายเชิงขันรับอยู่ใต้รางสำหรับตั้ง ไม้ตีมี ๒ อย่าง คือ ไม้แข็งใช้เมื่อต้องการเสียงแกร่งกร้าว และไม้นวมเมื่อต้องการเสียงเบาและนุ่มนวล.
ตี
หมายถึงก. เอามือหรือไม้เป็นต้นฟาดหรือเข่นลงไป เช่น ตีเด็ก ตีดาบ, ตบเบา ๆ เช่น นอนตีพุง; บุให้เข้ารูป เช่น ตีขัน ตีบาตร; แผ่ให้แบน เช่น ตีทอง; ทำให้เกิดเสียง เช่น ตีระฆัง; กด, ประทับ, เช่น ตีพิมพ์ ตีตรา; ทำให้เข้ากัน เช่น ตีเกลียวเชือก ตีไข่; กำหนด เช่น ตีราคา; ทิ้งให้เห็น เช่น ตีไพ่; ชักว่าวให้ไปในทิศทางที่ตนต้องการ เช่น ตีว่าวไปทางซ้าย ตีว่าวหนี ตีว่าวแยกกัน. น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน ตั้งแต่ ๑ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกา เรียกว่า ตี ๑ ถึง ตี ๖, แต่ตี ๖ นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง.