ค้นเจอ 259 รายการ

อัยการ

หมายถึง[ไอยะ-] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงานอัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.

อุปการ

หมายถึง[อุปะกาน, อุบปะกาน] น. เรียกม้าที่ปล่อยในพิธีอัศวเมธว่า ม้าอุปการ.

อุษณาการ

หมายถึง[อุดสะนา-] น. อาการเร่าร้อน. (ส. อุษฺณาการ; ป. อุณฺหาการ).

พระบวรราชโองการ

หมายถึงคำสั่ง

พระราชโองการ

หมายถึงคำสั่ง

พระราชประสงค์

หมายถึงความต้องการ

นมัสการ

หมายถึงการแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบไหว้, คำที่ใช้ขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่มีไปถึงพระภิกษุสามเณร

กรมการ

หมายถึง[กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่สมัยโบราณ และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบ และกรมการนอกทำเนียบ. (ส. กรฺม + การ).

กษัยการ

หมายถึง[กะไสยะกาน] น. การที่สิ่งต่าง ๆ ค่อยผุพังและแพร่สะพัดหรือกระจัดกระจายไปเพราะพลังลม พลังนํ้า หรือปฏิกิริยาเคมี. (อ. erosion).

กำมังละการ

หมายถึงน. ตำหนัก. (ช.).

กุมภการ

หมายถึงน. ช่างหม้อ. (ป.).

ค่าป่วยการ

หมายถึง(กฎ) น. ค่าชดเชยการงานหรือเวลาที่เสียไป.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ