ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ละเมาะ, กระเมาะ, บริขาร, กระบอก, หมก, บอก, มก, กอก
หุ่นกระบอก
หมายถึงน. หุ่นชนิดหนึ่ง มีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้างลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิดใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด.
กระบอกสูบ
หมายถึงน. ส่วนของเครื่องจักรเครื่องยนต์ ลักษณะเป็นโพรงรูปกระบอกอยู่ในเสื้อสูบ เป็นช่องสำหรับบังคับให้ลูกสูบเคลื่อนไปมา.
กระบอก
หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการรีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดำบรรพ์).
กระบอกเพลา
หมายถึงน. ไม้แข็งเช่นเต็งรังทำเป็นปลอกตอกอัดไว้ในรูดุมเกวียน สำหรับสอดเพลาเข้าในรูนั้นป้องกันมิให้รูดุมคราก.
ดอกกระบอก
หมายถึงดู รำเพย ๒.
เสื้อกระบอก
หมายถึงน. เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง.
กระบอกเสียง
หมายถึง(ปาก) น. ผู้เป็นปากเป็นเสียงแทน.
กระบอกหัว
หมายถึง(โบ) น. กะโหลกหัว เช่น อีกกระบอกหววมึงกูจะผ่า. (ม. คำหลวง ชูชก), ปักษ์ใต้ว่า บอกหัว.
ข้าวผอกกระบอกน้ำ
หมายถึงน. ของกินเล็ก ๆ น้อย ๆ และมีกระบอกนํ้าเล็ก ๆ กรอกนํ้าแขวนกิ่งไม้ผูกไว้กับบันไดเรือน ใช้เซ่นผีในเทศกาลตรุษ.
หมายถึงน. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สำหรับใช้กับของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิดใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กำเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็นวงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้นจนปลาย. (อ. cylinder).
หมายถึงน. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น กระบอกทิพย์ผกากวน กาเมศ กูเอย. (นิ. นรินทร์), กว่ากลิ่นกระบอกบง- กชเกศเอาใจ. (เสือโค), ใช้ว่า ตระบอก ก็มี. (เทียบอะหม บฺลอก; ไทยใหญ่ หมอก; ไทยขาว และ ไทยนุง บอก; เขมร ตฺรบก).
ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้
หมายถึง(สำ) ว. ด่วนทำไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร.