ค้นเจอ 17 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ชระลุ, ฉลุ, จรวด, ผลุ, ระทา, พลุ, อาบัน, ลุ, บรรลุ

ท้องพลุ

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Machrochirichthys machrochirus ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาดาบลาว เว้นแต่มีเส้นข้างตัว อกเชิดขึ้นและต่อเนื่องกับคางซึ่งเงยขึ้นไปอีก ฟันเล็ก ด้านหลังลำตัวสีเขียวอมเหลือง ด้านข้างและท้องสีขาวเงิน พบตามแม่นํ้าและแหล่งนํ้าขนาดใหญ่ทั่วไป, ดาบ หรือ ฝักพร้า ก็เรียก; ชื่อนี้ยังใช้เรียกปลาแปบบางชนิด. (ดู แปบ ๒).

พลุ

หมายถึง[พฺลุ] น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง บรรจุดินปืนในกระบอกไม้ไผ่ เมื่อจุดมีเสียงระเบิดดังคล้ายเสียงปืน, โดยอนุโลมเรียกดอกไม้เพลิงอย่างอื่นที่จุดมีเสียงระเบิดดังเช่นนั้นว่า พลุ. ว. ฟุ, ฟ่าม, ไม่แน่น.

ตาลุ

หมายถึง(แบบ) น. เพดานปาก. (ป., ส.).

ลุ

หมายถึงก. ถึง (ในลักษณะที่ต้องใช้ความพยายาม) เช่น ลุความสำเร็จ, ถึง เช่น ลุศักราช, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ถึง เป็น ลุถึง; (โบ) รู้ความ เช่น ลุท้องตรา ลุหนังสือ.

เลื่อยฉลุ

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูปยาวรี ด้ามเป็นไม้สำหรับจับ อีกชนิดหนึ่งมีคันทำด้วยเหล็กเป็นรูปอย่างนี้ ด้ามเป็นไม้ติดอยู่ที่ปลายตอนล่าง ระหว่างปลายคันทั้งคู่ติดใบเลื่อยลักษณะเป็นเส้นแบนขนาดเล็ก.

ฉลุ

หมายถึง[ฉะหฺลุ] ก. ปรุ, สลัก.

บรรลุ

หมายถึง[บัน-] ก. ลุ, ถึง, สำเร็จ, เช่น บรรลุมรรคผล, ประลุ ก็ว่า.

ประลุ

หมายถึงก. บรรลุ.

กมัณฑลุ

หมายถึง[กะมันทะ-] (แบบ) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ = ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง. (เสือโค). (ป., ส.).

ดาลุ

หมายถึง(แบบ) น. เพดานปาก. (ป., ส.).

มุทะลุ

หมายถึงก. หุนหันพลันแล่น, โกรธแล้วทำลงไปอย่างไม่คำนึงถึงเหตุผลหรือไม่ยับยั้ง. ว. มีนิสัยดุดัน ชอบทำอะไรอย่างหุนหันพลันแล่นหรือโดยขาดสติปราศจากความยั้งคิด.

ยัดพลุ

หมายถึงก. ใส่ดินพลุลงในกระบอกพลุแล้วตอกให้แน่น.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ