ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา วัต
ศารทวิษุวัต
หมายถึง[สาระทะ-] (ดารา) น. จุดราตรีเสมอภาคที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึงในราววันที่ ๒๔ กันยายน (autumnal equinox), คู่กับ วสันตวิษุวัต.
อนุวัต
หมายถึงก. ทำตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม, เขียนเป็น อนุวรรตน์ อนุวัตน์ อนุวัตร หรือ อนุวัติ ก็มี. (ป. อนุวตฺต; ส. อนุวรฺต).
วัต
หมายถึงน. วตะ, พรต, ข้อปฏิบัติ; ความประพฤติ. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
ศาศวัต
หมายถึง[สาดสะ-] ว. ยั่งยืน. (ส. ศาศฺวต; ป. สสฺสต).
ปัฐยาวัต
หมายถึง[ปัดถะหฺยาวัด] (แบบ) น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง ซึ่งกำหนดด้วยอักษร ๓๒ คำ มี ๔ บาท บาทละ ๘ คำ, บัฐยาพฤต หรือ อัษฎกฉันท์ ก็เรียก. (ป. ปฐฺยาวตฺต).
พลวัต
หมายถึง[พนละ-] ว. ซึ่งเกี่ยวข้องกับแรง, ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลของแรงเช่นการเคลื่อนที่. (อ. dynamic).
เสด็จนิวัต
หมายถึงกลับ
วิษุวัต
หมายถึง(ดารา) น. จุดราตรีเสมอภาค คือ จุดที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึง โลกจะมีกลางวันกับกลางคืนเท่ากัน มี ๒ จุด คือ วสันตวิษุวัต และ ศารทวิษุวัต. (ส. ว่า มีในกึ่งกลาง; อ. equinox).
หิมวัต
หมายถึง[หิมมะวัด] ว. มีหิมะ, หนาว, ปกคลุมด้วยหิมะ. น. ชื่อหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย; ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ศัพท์นี้แผลงใช้ได้หลายอย่างคือ ๑. หิมวาท (แผลงจาก ส. หิมวตฺ) ๒. หิมวาน ๓. หิมพาน (รูปประถมแห่ง ส. หิมวตฺ) ๔. หิมวันต์ (ป. หิมวนฺต) ๕. หิมพานต์ (แผลงจาก ป. หิมวนฺต) ๖. หิมวา (รูปประถมแห่ง ป. หิมวนฺต). (ส.; ป. หิมวนฺต).
วสันตวิษุวัต
หมายถึง(ดารา) น. จุดราตรีเสมอภาค ที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึงในราววันที่ ๒๑ มีนาคม, คู่กับ ศารทวิษุวัต. (อ. vernal equinox).
ศีลวัต
หมายถึง[สีละวัด] ว. มีศีล, มีความประพฤติดี. (ส.).
ไอราวัต
หมายถึงน. ช้าง ๓๓ เศียรเป็นพาหนะของพระอินทร์. (ส. ไอราวต; ป. เอราวณ).