ค้นเจอ 13 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา สนิท, อม, ลืมกลืน, กล้ำกลืน

กลมกลืน

หมายถึงก. เข้ากันได้ดี, ไม่ขัดแย้งกัน.

สนิท

หมายถึง[สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขาสนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็นเนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).

อม

หมายถึงก. เอาสิ่งของใส่ปากแล้วหุบปากไว้ไม่กลืนลงไป, โดยปริยายหมายความว่า ไม่แสดงออกมา เช่น อมภูมิ; กลมกลืน, ปนกัน, เช่น อมเปรี้ยวอมหวาน เขียวอมเหลือง; (ปาก) เม้ม, ขมิบ, ยักเอาไว้.

หัวมังกุท้ายมังกร

หมายถึง(สำ) ว. ไม่เข้ากัน, ไม่กลมกลืนกัน, มีหลายแบบหลายอย่างปนกัน.

ประสานเสียง

หมายถึงก. ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเป็นหมู่ให้มีเสียงกลมกลืนกัน.

เอกภาพ

หมายถึง[เอกกะ-] น. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน; ความสอดคล้องกลมกลืนกัน. (อ. unity).

ตัดกัน

หมายถึงก. ขัดกัน, ไม่กินกัน, ไม่กลมกลืนกัน, (ใช้แก่สี); ตัดผ่านขวางกัน เช่น ถนนตัดกัน.

ศิลปลักษณะ

หมายถึงน. คุณสมบัติของงานศิลปกรรมที่ปรากฏให้เห็นได้จากรูปวัตถุที่ได้รับการสร้างสรรค์อย่างมีระเบียบ มีความกลมกลืนและความเรียบง่าย.

เอื้อน

หมายถึงก. ออกเสียงขับร้องให้เลื่อนไหลกลมกลืนไปตามทำนองตอนที่ไม่มีเนื้อร้อง, ยืดหรือลากเสียงออกไปให้เข้ากับจังหวะของทำนองเพลง.

สละสลวย

หมายถึง[สะหฺละสะหฺลวย] ว. ที่กล่าวหรือเรียบเรียงได้เนื้อถ้อยกระทงความ และมีสำนวนกลมกลืนไพเราะระรื่นหู (ใช้แก่ถ้อยคำสำนวน) เช่น บทความนี้มีสำนวนสละสลวย.

แยกตัว

หมายถึงก. ผละออก เช่น เขาแยกตัวออกจากพรรคพวก; ไม่ผสมกลมกลืนกัน เช่น น้ำกับน้ำมันแยกตัวกัน; แบ่งตัวเพื่อขยายจำนวน เช่น เซลล์แยกตัวออกจากกันเป็นทวีคูณ.

สนธิ

หมายถึงน. ที่ต่อ, การติดต่อ; การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาเชื่อมเสียงให้กลมกลืนกันตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น พจน + อนุกรม เป็น พจนานุกรม ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์ นว + อรห + อาทิ + คุณ เป็น นวารหาทิคุณ. (ป., ส.).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ