ค้นเจอ 16 รายการ

คร่อม

หมายถึง[คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการเช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.

กรวม

หมายถึง[กฺรวม] ก. สวม เช่น วงแหวนกรวมหัวเสา, ครอบ เช่น เอากรวยกรวมพนมดอกไม้, คร่อม เช่น ปลูกเรือนกรวมตอ ปลูกเรือนกรวมทาง; รวมความหมายหลายอย่าง เช่น กรวมความ; กำกวม เช่น พูดกรวมข้อ. (ปาเลกัว).

ปลูกเรือนคร่อมตอ

หมายถึง(สำ) ก. กระทำสิ่งซึ่งล่วงลํ้า ก้าวก่าย หรือทับสิทธิของผู้อื่น จะโดยรู้เท่าถึงการณ์หรือไม่ก็ตาม.

ขี่

หมายถึงก. นั่งเอาขาคร่อม, โดยปริยายหมายถึงนั่งไปในยานพาหนะ.

หาไม่,หาไม่,หา ไม่,หา...ไม่

หมายถึงว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำกริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.

อัญประกาศเดี่ยว

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ‘ ’ สำหรับเขียนคร่อมคำหรือข้อความที่ซ้อนอยู่ภายในข้อความที่มีเครื่องหมายอัญประกาศอยู่แล้ว.

หาบมิได้,หาบ่มิได้

หมายถึง[หาบอ-, หาบ่อ-] ว. ไม่มีเลย เช่น คนดีอย่างนี้หาบมิได้, บางทีใช้คร่อมกับคำอื่น เช่น เพชรเม็ดนี้หาตำหนิบ่มิได้.

สะพานลอย

หมายถึงน. สะพานสูงแคบ ๆ ที่สร้างคร่อมขวางถนน ใช้เป็นทางให้คนเดินข้ามถนน รถสามารถแล่นผ่านใต้สะพานได้, สะพานสูง กว้าง และยาวมาก มักสร้างคร่อมทางรถไฟหรือสี่แยกที่ถนนสายสำคัญ ๆ ตัดกัน เพื่อให้รถยนต์แล่นผ่านไปมาได้โดยไม่ต้องรอให้รถไฟผ่านหรือรอสัญญาณไฟ.

อัญประกาศ

หมายถึง[อันยะ-] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ “ ” สำหรับเขียนคร่อมคำหรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคำพูด หรือเพื่อเน้นความนั้นให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น.

ข่า

หมายถึงน. ไม้ที่ทำเป็นร้านขึ้นคร่อมกองไฟสำหรับปิ้งปลา, ไม้ไผ่ขัดเป็นตารางเล็ก ๆ สำหรับวางหรือห้อยอาหารแห้งให้อยู่เหนือเตาไฟในครัว.

กระแซง

หมายถึงน. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒ ข้างผูกกับสายสำอางคร่อมอยู่ทางท้ายสันหลังช้าง สำหรับควาญช้างจับเมื่อเวลาคับขัน, กระแอก หรือ ประแอก ก็เรียก.

ประแอก

หมายถึงน. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒ ข้างผูกกับสายสำอางคร่อมอยู่ทางท้ายสันหลังช้าง สำหรับควาญช้างจับเมื่อเวลาคับขัน, กระแซง หรือ กระแอก ก็เรียก.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ