ค้นเจอ 41 รายการ

จีวร,จีวร-

หมายถึง[จีวอน, จีวอนระ-] น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว]. (ป., ส.).

จีวรทานสมัย

หมายถึง(แบบ) น. สมัยถวายจีวรในจีวรกาล. (ป.).

จีพร

หมายถึง(โบ) น. จีวร.

จีวรภาชก

หมายถึง(แบบ) น. ผู้แจกจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมุติให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรที่สงฆ์ได้มาให้แก่ภิกษุ. (ป., ส.).

ตรีจีวร

หมายถึงน. ผ้า ๓ ผืน หมายถึง ผ้าของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), แต่โดยมากใช้ไตรจีวร เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร. (ส. ตฺริจีวร; ป. ติจีวร).

จีวรการสมัย

หมายถึง(แบบ) น. คราวที่พระทำจีวร คือตัดเย็บอยู่. (ป.).

สุ

หมายถึงก. ซักสบงจีวรวิธีหนึ่งโดยใช้นํ้าร้อนหรือมะกรูดมะนาวเป็นต้น, มักใช้ว่า ซักสุ.

อุตราสงค์

หมายถึง[อุดตะรา-] น. จีวรสำหรับห่ม. (ป., ส. อุตฺตราสงฺค).

บริภัณฑ์

หมายถึง[บอริพัน] น. ผ้าทาบประกอบริมสบงหรือจีวรด้านกว้าง.

จีวรกรรม

หมายถึง(แบบ) น. การเตรียมจีวรเพื่อเดินทาง เช่น ซัก สุ ย้อม. (ส.; ป. จีวรกมฺม).

อติเรกจีวร

หมายถึงน. จีวรของภิกษุที่เขาถวายเพิ่มเข้ามานอกจากผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร. (ป., ส.).

พินทุกัป,พินทุกัปปะ

หมายถึงน. การทำพินทุ คือ เขียนรูปวงที่มุมจีวรตามวินัยบัญญัติ. (ป. พินฺทุกปฺป).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ