ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ชระงำ
ชรงำ
หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. คลุ้ม, มืด, งำ, เช่น เปนไพรชัฏชรงำผลู. (สมุทรโฆษ).
ชร,ชร-,ชร-
หมายถึง[ชฺระ-] เป็นพยางค์หน้าของคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ช ในบทกลอน เช่น ชทึง เป็น ชรทึง.
งำ
หมายถึงก. ปิด เช่น งำความ, ปกครอง เช่น งำเมือง, รักษา ในคำว่า เก็บงำ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ครอบ เป็น ครอบงำ.
ชร
หมายถึง[ชอน] น. ลวดลาย, ลายประกอบริม, ระบาย, เช่น ขนนเขนยชร. (ข.).
หมายถึง[ชอน] น. น้ำ เช่น ชรเซาะเขาเราตกแต่ง. (คำฤษดี), ชรธารา. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
รู้จักเก็บรู้จักงำ
หมายถึง(สำ) ก. รู้จักเก็บรักษาข้าวของ.
ชระงำ
หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. คลุ้ม, มืด, งำ.
ชำเนียน
หมายถึงก. เจียน, สลัก, เช่น ชำเนียนชรเนียรเอมอร. (สมุทรโฆษ). ว. ฉลุเฉลา, เกลี้ยงเกลา.
ประศาสน์
หมายถึง[ปฺระสาด] น. การแนะนำ, การสั่งสอน; การปกครอง, การงำเมือง, การสั่ง. (ส. ปฺรศาสน; ป. ปสาสน).
ชวร,ชวระ
หมายถึง[ชวน, ชะวะระ] (แบบ) น. ไข้, ความไข้. ก. เป็นไข้, ป่วย. (ส.; ป. ชร).
ชรอัด
หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. ชัด เช่น ลางหมู่งาชรอัดชรแอ้น. (ม. คำหลวง มหาราช).
ตากตน
หมายถึงก. นอนแผ่, นอนหงาย, เช่น ผลักให้ตากตนอยียด ชรดียดด้าวดิ้นดรนอนอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร).