ค้นเจอ 13 รายการ

ชาตรี

หมายถึง[-ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ ที่มีคำ ชาตรี นำหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).

กระพัน

หมายถึงว. ทนทานต่อศัสตราวุธ, มักใช้ควบกับ ชาตรี เป็น คงกระพันชาตรี. (เทียบมลายู กะบัล).

ละครชาตรี

หมายถึงน. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.

ละครแก้บน

หมายถึงน. ละครชาตรีตอนสั้น ๆ ที่จัดแสดงแก้บน.

ปลุกตัว

หมายถึงก. นั่งเข้าสมาธิแล้วบริกรรมคาถา เพื่อให้อยู่คงกระพันชาตรี.

มโนราห์

หมายถึงน. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี.

ฆ้องคู่

หมายถึงน. ฆ้องที่ใช้บรรเลงในการเชิดหนังตะลุงและละครโนราชาตรี ชุดหนึ่งมี ๒ ลูก, ปักษ์ใต้เรียก โหม่ง.

ทับ

หมายถึง(โบ) น. โทน, ชาวพื้นเมืองปักษ์ใต้ยังคงเรียกโทนชาตรีว่า ทับ เช่นที่ใช้ประโคมในการแสดงหนังตะลุง มโนราห์ และโต๊ะครึม.

เทพ

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า เทพ เช่น เทพชาตรี เทพทอง เทพนิมิต เทพบรรทม เทพประทม เทพรัญจวน.

ละครรำ

หมายถึงน. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดงบทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรีปี่พาทย์ประกอบ แบ่งออกเป็น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน.

ละครนอก

หมายถึงน. ละครรำแบบหนึ่ง ปรับปรุงให้ดีขึ้นจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบแบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง.

โทน

หมายถึงน. ชื่อกลองประเภทหนึ่งสำหรับตีขัดจังหวะ ขึงหนังด้านเดียวคล้ายกลองยาว แต่เล็กและสั้นกว่า มี ๒ ชนิด คือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. ว. มีจำเพาะหนึ่งเท่านั้น, ใช้แก่สิ่งที่ตามปรกติควรจะมีมากกว่าหนึ่ง แต่มีเพียงหนึ่งเท่านั้น เรียกว่า โทน เช่น ลูกโทน มะพร้าวโทน.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ