ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา กระ, ตระ, ตระกัด, ตระจัก, ตระดาษ, ตระบอก, ตระบัน, ตระเบ็ง, ตระแบน,ตระแบ่น, ตระมื่น, ตันตระ
ตระ
หมายถึง[ตฺระ] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
ตระกล
หมายถึง[ตฺระกน] ว. มีมาก; งาม.
ตระกัด
หมายถึง[ตฺระ-] (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น พ่อเอ๋ย ใช่ตั้งใจแก่ความกำหนัด ในความตระกัดกรีธา. (ม. คำหลวง กุมาร), กระกัด ก็ว่า.
ตระจัก
หมายถึง[ตฺระ-] ว. ตระชัก, เย็น. (ข. ตรฺชาก่).
ตระดาษ
หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) ว. ขาว, เผือก, เช่น อนนขาวตระดาษดุจสังข์. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
ตระบอก
หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) น. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น ตระบอกบววศรีไส กลีบกล้ยง. (กำสรวล). (ข. ตฺรบก).
ตระบัน
หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) น. กลีบซ้อน.
ตระเบ็ง
หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) ก. กลั้นใจดันเบ่งเสียงออกให้ดัง, อัดใจให้ท้องป่องขึ้น, กระเบง.
ตระแบน,ตระแบ่น
หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) ก. ทิ้งลง, ตกลง, โผลง, เช่น ตระแบนไว้กลางดิน. (โบ) น. แผ่น. (อนันตวิภาค).
ตระมื่น
หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) ว. สูงใหญ่, ทะมื่น ก็ใช้.
ตระหน่ำ
หมายถึง[ตฺระหฺนํ่า] (กลอน) ก. กระหนํ่า.
ตระกูล
หมายถึง[ตฺระ-] น. สกุล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์.