ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ทรงงาน, เรียกคืน, ท่า
ทรงยืน
หมายถึงยืน
ยืน
หมายถึงก. ตั้งอยู่ เช่น เสายืนเรียงเป็นแถว, เอาเท้าเหยียบพื้นแล้วตั้งตัวให้ตรงขึ้นไป. ว. นาน, ยาว เช่น อายุยืน, ยืด เช่น คบกันยืนนาน; คงอยู่, อยู่กับที่ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ยืนคำ; คงเดิม เช่น พิพากษายืน; ยาวเป็นแนวตรงเข้าไป เช่น ที่ดินยืนเข้าไป ๓ เส้น.
ทรง
หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
สอนยืน
หมายถึงว. เรียกเด็กที่เริ่มตั้งไข่ว่า เด็กสอนยืน.
ยืนแท่น
หมายถึงน. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงานพระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น, เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บนแท่นว่า เทวดายืนแท่น.
ยืนคำ
หมายถึงก. ยืนยันคำพูดที่พูดไปแล้วโดยไม่เปลี่ยนแปลง.
ทรงชำนาญ,ทรงเชี่ยวชาญ
หมายถึงชำนาญ
ทรงบาตร
หมายถึงใส่บาตร
เครื่องทรง
หมายถึงเครื่องแต่งตัว, เครื่องแต่งกาย
ทรงงาน
หมายถึงทำงาน
ทรงธรรม
หมายถึงฟังธรรม
ทรงฟัง
หมายถึงฟัง