ค้นเจอ 2,659 รายการ

ทรงแย้มพระโอษฐ์

หมายถึงยิ้ม

แย้มพระโอษฐ์

หมายถึงคำว่า "โอษฐ์" หมายความว่า "ริมฝีปาก, ปาก" เพราะฉะนั้นแล้ว "แย้มพระโอษฐ์" จึงหมายความว่า "เผยอริมฝีปากแต่น้อยๆ" หรือที่เราเข้าใจกันคือการ "ยิ้ม" นั่นเอง

แย้ม

หมายถึงก. เผยอ, คลี่, บานแต่น้อย ๆ, เช่น กุหลาบแย้มกลีบ, เผยอริมฝีปากน้อย ๆ ไม่ถึงกับยิ้ม เช่น พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์, แย้มพราย.

พระโอษฐ์

หมายถึงปาก

พระโอษฐ์

หมายถึงริมฝีปาก

ริมพระโอษฐ์

หมายถึงริมฝีปาก

พระตาลุ , เพดานพระโอษฐ์

หมายถึงเพดานปาก

ทรง

หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

ทรงพระกรรสะ, ทรงพระกาสะ

หมายถึงไอ

ทรงพระปินาสะ

หมายถึงจาม

ทรงพระประชวร

หมายถึงป่วย

ทรงพระกาสะ

หมายถึงไอ

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ