ค้นเจอ 523 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ทองนพคุณ, เนื้อ, นพคุณ

ทองนพคุณเก้าน้ำ

หมายถึงน. ทองนพคุณ.

ทองนพคุณ

หมายถึงน. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกำหนดราคาตามคุณภาพของเนื้อทอง หนัก ๑ บาท เป็นเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.

เก้า

หมายถึงน. จำนวนแปดบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๙ ตกในราวเดือนสิงหาคม.

เนื้อ

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควายที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจำตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสำคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติของเนื้อทองคำและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.

ทองธรรมชาติ

หมายถึงน. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์, ทองเนื้อเก้า ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.

ทองเนื้อแท้

หมายถึงน. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์, ทองเนื้อเก้า ทองธรรมชาติ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.

ทองเนื้อเก้า

หมายถึงน. ทองคำบริสุทธิ์ โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.

นพคุณ

หมายถึง[นบพะ-] น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกำหนดราคาตามคุณภาพของเนื้อ หนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้านํ้า, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ.

ทองชมพูนุท

หมายถึงน. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ มีสีเหลืองเข้มออกแดง, ทองเนื้อเก้า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองนพคุณ ก็เรียก.

บอกเล่าเก้าสิบ

หมายถึง(สำ) ก. บอกกล่าวให้รู้.

ให้น้ำ

หมายถึงก. ให้นักมวยหรือคู่ต่อสู้เป็นต้นหยุดพักเหนื่อยชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อให้ดื่มน้ำ เช็ดหน้า หรือเช็ดตัวเป็นต้น ก่อนจะลงมือสู้ในยกต่อไป.

น้ำ

หมายถึงน. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคำ นํ้าใจ นํ้าพักนํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้า ต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ