ค้นเจอ 16 รายการ

ทำเนียบ

หมายถึงน. ที่พักทางราชการของผู้มีตำแหน่งสูง เช่น ทำเนียบผู้สำเร็จราชการ, ที่ทำการของคณะรัฐบาล เรียกว่า ทำเนียบรัฐบาล.

ทำเนียบ

หมายถึงก. เทียบ, เปรียบ. น. การลำดับตำแหน่งหน้าที่ซึ่งวางเป็นระเบียบแบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทำเนียบสมณศักดิ์ ทำเนียบราชการ, การแบ่งประเภทช้างม้าเป็นต้นที่วางเป็นระเบียบแบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทำเนียบช้าง ทำเนียบม้า. (แผลงมาจาก เทียบ).

ระวาง

หมายถึงน. ทำเนียบ เช่น ม้าขึ้นระวาง เรือขึ้นระวาง; ที่ว่างสำหรับบรรทุกของในเรือเป็นต้น เช่น เสียค่าระวาง.

กรมการในทำเนียบ

หมายถึง(กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีเงินเดือน ซึ่งจัดเป็น ๒ พวก กรมการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ปลัด ยกกระบัตร และผู้ช่วยราชการ กับกรมการชั้นผู้น้อย ประกอบด้วย จ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา และสารเลข.

กรมการนอกทำเนียบ

หมายถึง(กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า.

เชลยศักดิ์

หมายถึงว. อยู่นอกทำเนียบนอกทะเบียน เช่น หมอเชลยศักดิ์ นักสืบเชลยศักดิ์.

ปลดระวาง

หมายถึงก. ปลดจากตำแหน่ง, ปลดจากทำเนียบ, ปลดจากประจำการ; โดยปริยายหมายความว่า หมดหน้าที่.

ขึ้นระวาง

หมายถึงก. เข้าทำเนียบ, เข้าประจำการ, (ใช้แก่พาหนะของหลวง คือ ม้า ช้าง รถ และเรือ).

ฐานานุกรม

หมายถึงน. ลำดับตำแหน่งยศพระสงฆ์ที่พระราชาคณะมีอำนาจตั้งสมณศักดิ์ให้ตามทำเนียบ.

สโมสรสันนิบาต

หมายถึงน. งานชุมนุมใหญ่อย่างเป็นทางการ เช่น รัฐบาลจัดงานสโมสรสันนิบาตที่ทำเนียบรัฐบาลเนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา.

สันนิบาต

หมายถึงน. การประชุม, ที่ประชุม, เช่น สังฆสันนิบาต สันนิบาตชาติ, งานชุมนุม เช่น รัฐบาลจัดงานสโมสรสันนิบาตที่ทำเนียบรัฐบาล.

กรมการ

หมายถึง[กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่สมัยโบราณ และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบ และกรมการนอกทำเนียบ. (ส. กรฺม + การ).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ