ค้นเจอ 2,369 รายการ

ขนง

หมายถึง[ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง.

พระขนง

หมายถึงคิ้ว

พระขนง , พระภมู

หมายถึงคิ้ว

วงเล็บเหลี่ยม

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กันคำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะหนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน, เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอกคำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง, ใช้กันข้อความในการเขียนบรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏในหนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐานยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 - 3{x + 5 - 4(x + 1)}] = 23, ใช้ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อแสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F-2] = 1.05.10-6, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]·2H2O.

โขนง

หมายถึง[ขะโหฺนง] น. ขนง, คิ้ว.

พระ

หมายถึง[พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

พระถัน , พระเต้า, พระปโยธร

หมายถึงเต้านม

พระเชษฐา, พระเชษฐภาดา,พระเชษฐภาตา

หมายถึงพี่ชาย ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และเจ้านายหมายถึง พี่ ที่ใช้เป็นกลางๆ

พระเกศา , พระเกศ, พระศก

หมายถึงเส้นผม

พระหทัย, พระหฤทัย, พระกมล

หมายถึงใจ

พระทาฐะ , พระทาฒะ

หมายถึงเขี้ยว

พระครรโภทร , พระคัพโภทร

หมายถึงมีครรภ์ มีท้อง

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ