ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ทุ, คติชาวบ้าน, ภูษิต
ภาษิต
หมายถึงน. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติ เช่น กงเกวียนกำเกวียน. (ส.).
ทุ
หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
คติชาวบ้าน
หมายถึงน. เรื่องราวของชาวบ้านที่เป็นของเก่าเล่าต่อปากและประพฤติสืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนในรูปคติความเชื่อ ประเพณี นิทาน เพลง ภาษิต ปริศนาคำทาย ศิลปะ สถาปัตยกรรม การละเล่นของเด็ก เป็นต้น, วิชาที่ว่าด้วยเรื่องเหล่านั้น.
ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย
หมายถึง(สำ) ถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายของตน ก็ไม่ควรไว้วางใจใคร, ทำนองเดียวกับภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง.
ลหุกาบัติ
หมายถึง[ละหุกาบัด] น. อาบัติเบา ได้แก่ อาบัติที่เมื่อภิกษุต้องแล้ว จะต้องบอกแก่ภิกษุด้วยกันจึงจะพ้นจากอาบัตินั้น ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต. (ป. ลหุกาปตฺติ).
อรรถปฏิสัมภิทา
หมายถึง[อัดถะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).
อาบัติ
หมายถึงน. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).