ค้นเจอ 14 รายการ

มาระ

หมายถึงก. โกรธ. (ช.).

มาร,มาร-

หมายถึง[มาน, มาระ-, มานระ-] น. เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ; ยักษ์; ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนาหมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. (ป., ส.).

มารวิชัย

หมายถึง[มาระ-, มาน-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางควํ่าลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ว่า พระปางมารวิชัย, พระปางชนะมาร หรือ พระปางสะดุ้งมาร ก็เรียก. (ป.).

มารศรี

หมายถึง[มาระสี] (แบบ) น. นาง, นางงาม.

ระดูทับไข้

หมายถึงน. การมีระดูออกมาระหว่างเป็นไข้.

มารชิ,มารชิต

หมายถึง[มาระชิ, มาระชิด] น. “ผู้ชนะมาร” คือ พระพุทธเจ้า. (ป. มารชิ; ส. มารชิตฺ).

สินสมรส

หมายถึง(กฎ) น. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว.

พะพาน

หมายถึงก. พ้องพาน เช่น อย่าให้ความชั่วมาพะพาน, พบปะ เช่น ไม่ได้พบปะพะพานมานาน, เกี่ยวพัน เช่น กิ่งไม้ยื่นมาระพะพาน.

ระรวย

หมายถึงว. รวย ๆ, แผ่ว ๆ, เบา ๆ, เช่น หายใจระรวย ลมพัดมาระรวย; ส่งกลิ่นหอมน้อย ๆ เช่น หอมระรวย.

สินเดิม

หมายถึง(กฎ; เลิก) น. ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงมีอยู่แล้วก่อนสมรส หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างเป็นสามีภรรยาโดยทางพินัยกรรม หรือมีผู้ยกให้โดยเสน่หาเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้นั้นแสดงไว้ว่าให้เป็นสินเดิม.

อุสุม

หมายถึงน. ไอ, ไออุ่น; ความร้อน; ฤดูร้อน, แผลงใช้เป็น อรสุม ก็มี เช่น อรสุมพล = กำลังไอนํ้า; ในไวยากรณ์เรียกเสียงพยัญชนะที่มีลมเสียดแทรกออกมาระหว่างลิ้นกับฟัน ว่า มีเสียงอุสุม ได้แก่เสียง ศ ษ ส. (ป.; ส. อุษฺมนฺ).

หนังสือราชการ

หมายถึงน. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐาน และเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ