ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ไม่, ลหุ
มิ
หมายถึงก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้. (บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).
หมายถึงว. ไม่ เช่น มิทราบ มิควร มิบังอาจ.
ไม่
หมายถึงว. มิ, คำปฏิเสธความหมายของคำที่อยู่ถัดไป เช่น ไม่กิน ไม่ดี, ถ้าอยู่ท้ายคำ ต้องมีคำ หา อยู่หน้า เช่น หากินไม่.
ลหุ
หมายถึง[ละ-] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน.
มิต,มิต-
หมายถึง[-ตะ-] ว. พอประมาณ, น้อย. (ป.).
มิส,มิส-,มิสก,มิสก-
หมายถึง[มิดสะ-, มิดสะกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ. (ป. มิสฺส, มิสฺสก; ส. มิศฺร, มิศฺรก).
มิศร,มิศร-,มิศรก,มิศรก-
หมายถึง[มิดสะระ-, มิดสะระกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ; ประสมขึ้น. (ส.; ป. มิสฺส, มิสฺสก).
บเอ
หมายถึง(โบ) ว. มิใช่เอก, มิใช่หนึ่ง, มาก.
มิญช,มิญช-
หมายถึง[มินชะ-] น. เยื่อ, แก่นหรือเมล็ด. (ป.).
ฤๅเยา
หมายถึงว. มิใช่เยา, มิใช่น้อย, ไม่เยา.
มิหนำซ้ำ
หมายถึงว. เท่านี้ยังไม่เพียงพอ, หนักยิ่งไปกว่านั้นอีก, เช่น ตัดเท้าตัดกรแล้วมิหนำ ซ้ำฆ่าสุริย์วงศ์ยักษี. (รามเกียรติ์).
สามิกะ
หมายถึงน. เจ้าของ; ผัว. (ป.).