ค้นเจอ 72 รายการ

ฦ,ฦๅ,ฦๅ

หมายถึงวิธีเขียนเสียง ลึ ลือ แต่บัญญัติเขียนเป็นอีกรูปหนึ่งต่างหาก อนุโลมตามอักขรวิธีของสันสกฤต.

ฦๅ

หมายถึง(โบ) ก. ลือ.

ฦๅสาย

หมายถึง(โบ) น. ลือสาย.

ฦๅชา

หมายถึง(โบ) ก. ลือชา.

ลือสาย

หมายถึงน. คำเรียกผู้เป็นใหญ่เช่นกษัตริย์, มักใช้ว่า ฦๅสาย.

ลือ

หมายถึงก. พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน เช่น เขาลือว่าจะเกิดเหตุที่ท่าน้ำ, (โบราณ ใช้ ฦๅ). (ข.).

ทีฆสระ

หมายถึงน. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.

ตฤๅ

หมายถึง[ตฺรี] น. ปลา, โดยมากใช้ ตรี. (ข. ตฺรี).

ฤๅ

หมายถึง[รือ] เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นเสียงยาวของ ฤ เมื่อไทยนำมาใช้ออกเสียงเป็น รือ เช่น ฤๅษี.

ฤๅ

หมายถึง[รือ] ว. หรือ, อะไร, ไม่ใช่; โดยมากใช้ในบทร้อยกรอง เช่น กวีฤๅแล้งแหล่งสยาม.

ทันตชะ

หมายถึง[ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).

ฤๅดี

หมายถึงน. ฤดี, ความยินดี, ใจ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ