ค้นเจอ 1,311 รายการ

หน้าเดิม

หมายถึงว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น งานนี้มีแต่คนหน้าเดิม, หน้าเก่า ก็ว่า.

หน้าเก่า

หมายถึงว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น ดาราหน้าเก่า ลูกค้าหน้าเก่า, หน้าเดิม ก็ว่า.

เดิม

หมายถึงว. แรก เช่น แต่เดิม, เก่า เช่น บ้านเดิม พระราชวังเดิม, ก่อน เช่น เหมือนเดิม. (ข. เฎีม ว่า ต้น).

พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ

หมายถึง(สำ) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทำให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม, กลับหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.

กลับหน้ามือเป็นหลังมือ

หมายถึง(สำ) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทำให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม, พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.

สภาพเดิม

หมายถึงน. ลักษณะหรือภาวะหรือธรรมชาติที่เป็นมาแต่แรก.

หน้าเปิด

หมายถึงน. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าสว่าง ก็ว่า.

วันหน้า

หมายถึงน.วันที่จะมาถึงข้างหน้า เช่น วันหน้าจะพบกันใหม่, ใช้ว่า วันหลัง ก็มี.

หน้า

หมายถึงน. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจำนวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.

วันหน้าวันหลัง

หมายถึงน. วันใดวันหนึ่งในอนาคต เช่น จะทำอะไรก็เผื่อวันหน้าวันหลังไว้บ้าง.

ให้หน้า

หมายถึงก. แสดงท่าทีให้ผู้ที่รู้กันทำตามความประสงค์ด้วยการพยักหน้า ขยิบตา บุ้ยปาก เป็นต้น เช่น ชูชกกล่าวหาพระเวสสันดรว่า ให้หน้าให้สองกุมารหนีไปเสียทั้งที่ยกให้ตนแล้ว.

ต้นตอ

หมายถึงน. เรื่องเดิม, เหตุเดิม, ที่เกิด.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ