ค้นเจอ 12 รายการ

อธิบดี

หมายถึง[อะทิบอดี, อะทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, เช่น อธิบดีสงฆ์ อธิบดีผู้พิพากษา; ตำแหน่งหัวหน้ากรมในราชการ. ว. มีความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์นิยมให้ประกอบการมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นอธิบดี ทั้งนี้ตลอดปีนั้น ๆ, ตรงข้ามกับโลกาวินาศ. (ป., ส. อธิปติ).

กาลโยค

หมายถึง[กาละ-] (โหร) น. การกำหนด วัน ยาม ฤกษ์ ราศี ดิถี ของแต่ละปี เป็น ธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ.

โลกาวินาศ

หมายถึงว. สูญสิ้นความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์ห้ามประกอบการมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นโลกาวินาศ ทั้งนี้ตลอดปีนั้น, ตรงข้ามกับ อธิบดี.

รักษาการ

หมายถึงก. ปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราว เช่น รองอธิบดีรักษาการแทนอธิบดี.

วางท่า

หมายถึงก. ทำท่าไว้ยศ เช่น วางท่าเป็นอธิบดี, วางปุ่ม ก็ว่า.

น้อง ๆ

หมายถึงว. จวนจะเป็น, ใกล้จะเป็น, เกือบจะเป็น, เช่น น้อง ๆ อธิบดีเข้าไปแล้ว.

ดีไม่ดี

หมายถึงคำแสดงความไม่แน่นอน, อาจได้อาจเสีย, เสี่ยงได้เสี่ยงเสีย, เช่น ดีไม่ดีเขาอาจได้เป็นอธิบดี, ดีมิดี ก็ว่า.

คั่ว

หมายถึงก. คอยกิน (ใช้ในการเล่นไพ่ผ่องไทยหรือไพ่ผ่องจีนเป็นต้น), โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สองคนนี้คั่วกันมาหลายปี ก็ยังไม่ได้แต่งงานกัน เขาคั่วตำแหน่งอธิบดีอยู่.

นายเวร

หมายถึงน. นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร มีหน้าที่เป็นเลขานุการของผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าตน เช่น นายเวรผู้บังคับการ นายเวรผู้บัญชาการ นายเวรอธิบดี หรือเป็นหัวหน้าปกครองเจ้าหน้าที่เสมียนพนักงานในบังคับบัญชาเป็นต้น; เจ้าหน้าที่การทูตชั้นผู้น้อยในสถานกงสุล.

ใบขนสินค้า

หมายถึง(กฎ) น. เอกสารแสดงรายการสินค้า อันได้แก่ ชนิด คุณภาพ ปริมาณ นํ้าหนัก ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและรายการอื่นตามที่อธิบดีกรมศุลกากรต้องการ ซึ่งผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกต้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อนำของใด ๆ เข้ามาในประเทศ หรือส่งของใด ๆ ออกนอกประเทศ.

รอง

หมายถึงก. รับรวมของเหลวหรือสิ่งอื่นที่ไหลตกลงมา เช่น รองนํ้า; ต้านทานคํ้าจุนให้คงอยู่ เช่น รองหัวเข็ม, หนุนให้สูงขึ้น เช่น เอาไม้รองโต๊ะรองตู้, รองรับ เช่น เอาเบาะรองนั่ง เอาผ้ารองมือ. ว. เป็นที่ ๒ โดยตำแหน่ง เช่น รองอธิบดี รองอธิการบดี, ถัดลงมาโดยอายุหรือตำแหน่ง เช่น ตำแหน่งรองลงมา, ด้อยกว่า เช่น เป็นรอง.

เรา

หมายถึงสรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ