ค้นเจอ 14 รายการ

คร้าน

หมายถึง[คฺร้าน] ว. มีความรู้สึกไม่อยากจะทำหรือคิดหรือไม่อยากแสดงอาการใด ๆ, ตามปรกติเมื่อใช้พูดมักมีคำ ขี้ ประกอบหน้า เช่น ขี้คร้าน และมักใช้เข้าคู่กับคำ เกียจ เป็น เกียจคร้าน ขี้เกียจขี้คร้าน หมายความว่า ไม่อยากทำงาน.

เกียจ

หมายถึง[เกียด] ก. คด, ไม่ซื่อ, โกง, คร้าน.

กำเนียจ

หมายถึง[กำเหฺนียด] ว. เกียจ, คด, ไม่ซื่อ, โกง; คร้าน; (โบ) เขียนเป็น กำนยจ ก็มี เช่น อนนว่าพระโพธิสัตว์ก็ใส่กลกล่าว กำนยจกยจแก่นางพญาด่งงนี้. (ม. คำหลวง กุมาร).

เกียจคร้าน

หมายถึงก. ขี้เกียจ, ไม่อยากทำงาน.

ไม่เชิง

หมายถึงว. ไม่เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งโดยแน่นอน เช่น จะว่าขี้เกียจก็ไม่เชิง.

หลังยาว

หมายถึง(สำ) ว. เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจหลังยาว, ขี้เกียจสันหลังยาว ก็ว่า.

สมน้ำหน้า

หมายถึงว. คำแดกดันหรือซํ้าเติมว่าควรได้รับผลร้ายเช่นนั้น เช่น ขี้เกียจท่องหนังสือ สอบตกก็สมน้ำหน้า, (ปาก) สม ก็ว่า เช่น สมแล้วที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.

เหลือทน

หมายถึงว. สุดที่จะทนได้, ยิ่งนัก, เช่น ขี้เกียจเหลือทน ร้ายเหลือทน.

สันหลังยาว

หมายถึง(สำ) ว. เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจสันหลังยาว หรือใช้สั้น ๆ ว่า สันหลังยาว ก็มี, ขี้เกียจหลังยาว ก็ว่า.

เป็นอัตรา

หมายถึง(ปาก) ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ขยันเป็นอัตรา ขี้เกียจเป็นอัตรา.

มนท,มนท-,มนท์

หมายถึง[มนทะ-] น. ดาวพระเสาร์. ว. เฉื่อย,ช้า; อ่อนแอ; โง่เขลา; ขี้เกียจ. (ป., ส.).

บรม,บรม-

หมายถึง[บอรมมะ-] ว. อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นำหน้าคำที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ