ตัวกรองผลการค้นหา
เทศน์,เทศนา
หมายถึง[เทด, เทสะนา, เทดสะหฺนา] น. การแสดงธรรมสั่งสอนในทางศาสนา. ก. แสดงธรรม เช่น พระเทศน์, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวอย่างยืดยาว เช่น วันนี้ถูกเทศน์เสียหลายกัณฑ์. (ป. เทสนา).
ทรงธรรม, ทรงสดับพระธรรมเทศนา (พระเจ้าแผ่นดิน)
หมายถึงฟังเทศน์
เทศนาโวหาร
หมายถึงน. สำนวนเขียนที่เป็นไปในลักษณะการเทศนาของพระ.
นักเทศน์
หมายถึงน. ผู้ชำนาญในการเทศน์.
ธรรมวัตร
หมายถึงน. ลักษณะเทศน์ทำนองธรรมดาอย่างหนึ่งที่แสดงอยู่ทั่วไป ไม่ใช่ทำนองแบบเทศน์มหาชาติ.
กถามรรคเทศนา
หมายถึง[-มักคะเทดสะหฺนา] น. เทศนาฝ่ายกถามรรค, คู่กับ สุตตันตเทศนา. (ส. -เทศนา ว่า การแสดง).
เดินคาถา
หมายถึงก. ว่าคาถาในเทศน์มหาชาติเรื่อยไป.
แหล่ใน
หมายถึงน. แหล่ตามคัมภีร์เทศน์มหาชาติ.
กัณฑ์
หมายถึง[กัน] น. ข้อความที่แต่งเป็นคำเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคำเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์; เรื่องหรือหมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง. (ป.).
ตามเนื้อผ้า
หมายถึงว. ตามที่ปรากฏ เช่น เทศน์ตามเนื้อผ้า, ตามข้อเท็จจริง เช่น ว่าไปตามเนื้อผ้า.
สดับตรับฟัง
หมายถึงก. ฟังด้วยความเอาใจใส่ เช่น สดับตรับฟังพระธรรมเทศนา.
มหาชาติ
หมายถึงน. เรียกเวสสันดรชาดกว่า มหาชาติ มี ๑๓ กัณฑ์, การมีเทศน์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก เรียกว่า มีเทศน์มหาชาติ. (ป.).