ค้นเจอ 25 รายการ

เทหวัตถุ

หมายถึง[เทหะ-] (วิทยา) น. ก้อนหรือชิ้นหรือส่วนหนึ่งของสสาร อาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ก็ได้. (อ. body).

มวลสาร

หมายถึงน. เนื้อของเทหวัตถุที่รวมกันอยู่ในเทหวัตถุนั้น ๆ.

พลังงานศักย์

หมายถึงน. พลังงานที่มีในเทหวัตถุ เนื่องจากตำแหน่งที่อยู่ของเทหวัตถุนั้น. (อ. potential energy).

ความถ่วง

หมายถึงน. แรงดึงดูดของโลกต่อเทหวัตถุ, แรงดึงดูดระหว่างกันของเทหวัตถุ. (อ. gravity).

พลังงานจลน์

หมายถึงน. พลังงานที่มีในเทหวัตถุ เนื่องจากการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุนั้น. (อ. kinetic energy).

แรงดึงดูด

หมายถึง(ฟิสิกส์) น. แรงระหว่างเทหวัตถุ ๒ ชิ้นที่ดึงหรือพยายามดึงให้เทหวัตถุทั้ง ๒ เคลื่อนที่เข้าใกล้กัน ต้านหรือพยายามต้านการแยกเทหวัตถุทั้ง ๒ ออกจากกัน.

ความเค้น

หมายถึง(ฟิสิกส์) น. แรงที่กระทำต่อ ๑ หน่วยพื้นที่ของเทหวัตถุ เมื่อเทหวัตถุใดถูกความเค้นมากระทำจะเกิดความเครียดขึ้นแก่เทหวัตถุนั้น. (อ. stress).

ความโน้มถ่วง

หมายถึงน. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทำต่อเทหวัตถุ. (อ. gravitation).

สถิตยศาสตร์

หมายถึง[สะถิดตะยะ-] น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยแรงที่กระทำต่อเทหวัตถุซึ่งเป็นของแข็ง โดยที่เทหวัตถุนั้น ๆ หยุดนิ่งอยู่กับที่. (อ. statics).

แรงหนีศูนย์กลาง

หมายถึง(ฟิสิกส์) น. แรงที่กระทำต่อเทหวัตถุในขณะที่เทหวัตถุนั้นเคลื่อนที่เป็นทางวงกลม แรงนี้มีแนวทิศออกจากจุดศูนย์กลางของทางวงกลมนั้น และมีขนาดเท่ากับแรงสู่ศูนย์กลาง. (อ. centrifugal force).

การนำ

หมายถึง(ไฟฟ้า) น. การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนำหรือฉนวน; (ความร้อน) การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านเทหวัตถุโดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของเทหวัตถุนั้นกระทบกระแทกกันเนื่องจากโมเลกุลสั่นสะเทือนอย่างรวดเร็วมาก.

แรงสู่ศูนย์กลาง

หมายถึง(ฟิสิกส์) น. แรงที่กระทำต่อเทหวัตถุในขณะที่เทหวัตถุนั้นเคลื่อนที่เป็นทางวงกลม แรงนี้มีแนวทิศเข้าสู่จุดศูนย์กลางของทางวงกลมนั้น และมีขนาดเท่ากับแรงหนีศูนย์กลาง. (อ. centripetal force).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ