ค้นเจอ 140 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา วรรค

เว้นวรรค

หมายถึงก. เว้นช่วงของคำ ข้อความ หรือประโยคเป็นระยะ ๆ.

วรรค

หมายถึง[วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมายวรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคำหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะหนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตราปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).

เว้น

หมายถึงก. แยกเอาออก (ไม่ให้พัวพันกันอยู่กับสิ่งซึ่งพึงกระทำหรือไม่พึงกระทำ) เช่น ทำเลขทุกข้อเว้นข้อ ๔ เปิดทุกวันเว้นวันนักขัตฤกษ์ วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น, เป็นคำใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องการให้ทราบชัดว่าเว้นด้วยลักษณะไหน ก็เอาคำอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกันมาประกอบเข้า เช่น งดเว้น ยกเว้น ละเว้น.

เศษวรรค

หมายถึง[เสสะวัก, เสดวัก] น. พยัญชนะที่เหลือวรรคหรือที่เข้าอยู่ในวรรคทั้ง ๕ ไม่ได้ มี ๑๐ ตัว คือ ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ํ, อวรรค ก็เรียก.

เบญจวรรค

หมายถึงน. วรรคทั้ง ๕ ได้แก่ พยัญชนะตั้งแต่ ก ถึง ม คือ กะ วรรค จะ วรรค ฏะ วรรค ตะ วรรค ปะ วรรค, พวก ๕.

อวรรค

หมายถึงน. เศษวรรค.

งดเว้น

หมายถึงก. เว้นด้วยการงด คือ หยุดไม่กระทำหรือไม่ดำเนินการตามปรกติ เช่น งดเว้นอบายมุขระหว่างเข้าพรรษา.

เว้นช่องไฟ

หมายถึงก. เว้นช่องว่างระหว่างตัวหนังสือหรือลวดลายแต่ละตัว.

นอกจาก

หมายถึงบ. เว้นเสียแต่.

เครื่องหมายวรรคตอน

หมายถึงน. เครื่องหมายต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบในการเขียนข้อความ เช่น จุลภาค (,) มหัพภาค (.) ปรัศนี (?).

สัมผัสนอก

หมายถึงน. สัมผัสนอกวรรคหรือระหว่างวรรคตามข้อบังคับแห่งฉันทลักษณ์ซึ่งเป็นสัมผัสสระและไม่ซ้ำเป็นคำเดียวกัน

ข้อยกเว้น

หมายถึงน. ข้อความที่ไม่เกี่ยวด้วยเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์เป็นต้นที่กำหนดไว้.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ