ค้นเจอ 150 รายการ

เสียกล

หมายถึงก. พลาดไปเพราะรู้ไม่ทันเล่ห์กลของเขา เช่น บัดนี้สุครีพฤทธิรณ เสียกลกุมภัณฑ์ยักษา. (รามเกียรติ์).

เสียการเสียงาน

หมายถึง(สำ) ก. ทำให้งานที่มุ่งหวังไว้บกพร่องหรือเสียหาย เช่น อยากจะไปเที่ยวก็ไม่ว่า แต่อย่าให้เสียการเสียงาน, เสียงานเสียการ ก็ว่า.

เสียง

หมายถึงน. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยหู เช่น เสียงฟ้าร้อง เสียงเพลง เสียงพูด; ความเห็น เช่น เรื่องนี้ฉันไม่ออกเสียง, ความนิยม เช่น คนนี้เสียงดี มีหวังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, คะแนนเสียง เช่น ลงมติกันแล้วเขาชนะเพราะได้เสียงข้างมาก.

เสียงกระเส่า

หมายถึงน. เสียงสั่นเครือและเบา.

เสียงเงียบ

หมายถึง(สำ) น. กลุ่มชนที่ยังไม่ออกเสียงแสดงความคิดเห็นของตนให้ปรากฏชัดว่าจะสนับสนุนฝ่ายใด.

เสียงแตก

หมายถึงน. เสียงพูดในตอนแตกเนื้อหนุ่ม เช่น เด็กคนนี้พูดเสียงแตก แสดงว่าเริ่มจะเป็นหนุ่มแล้ว; โดยปริยายหมายถึงคะแนนเสียงแตกแยก เช่น เรื่องนี้ยังลงมติไม่ได้ เพราะในที่ประชุมยังมีเสียงแตกกัน.

เสียงพยัญชนะ

หมายถึงน. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับเสียงสระ, พยัญชนะ ก็เรียก.

เสียงเลื้อน

หมายถึง(โบ) น. เสียงอ่านหรือสวดทำนองเสนาะ เช่น เสียงเลื้อนเสียงขับ. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง).

เสียงสระ

หมายถึงน. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, สระ ก็เรียก.

เสียงแหบ

หมายถึงน. เสียงที่แห้งไม่แจ่มใส; ชื่อของกลุ่มเสียงที่บีบให้สูงเป็นพิเศษของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า โดยเฉพาะปี่ใน.

เสียชีพ,เสียชีวิต

หมายถึงก. ตาย เช่น เขาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตเมื่อวานนี้.

เสียด

หมายถึงก. เบียดกัน เช่น เจดีย์ระดะแซง เสียดยอด. (นิ. นรินทร์); เสียบ, แทรก, แซง, เช่น สูงเสียดฟ้า; อาการที่รู้สึกอึดอัดหรือแทงยอกในท้องหรืออกเนื่องจากมีลมอยู่ ในคำว่า เสียดท้อง เสียดอก.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ