ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา จำโนทย์, โจทย์
โจทก์
หมายถึง[โจด] น. (กฎ) บุคคลผู้ฟ้องคดีต่อศาล; ผู้กล่าวหา. (เดิมเขียนเป็นโจทย์). (ป., ส.).
คำฟ้องแย้ง
หมายถึง(กฎ) น. คำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์, ฟ้องแย้ง ก็ว่า เช่น ยกฟ้องแย้ง.
ฟ้องแย้ง
หมายถึง(กฎ) ก. การที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์. น. คำฟ้องแย้ง.
ยกฟ้อง
หมายถึง(กฎ) ก. พิพากษาให้คดีตกไป โดยไม่บังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์.
ฟ้องกลับ
หมายถึง(ปาก) ก. ฟ้องให้โจทก์กลับตกเป็นจำเลยในคดีอาญาด้วยเรื่องที่โจทก์ฟ้องมาก่อน เช่น ฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จหรือเบิกความเท็จ.
แก้ต่าง
หมายถึง(กฎ) ก. ว่าความแทนจำเลย, ใช้คู่กับ ว่าต่าง ซึ่งหมายถึง ว่าความแทนโจทก์.
ทิ้งฟ้อง
หมายถึง(กฎ) ก. การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จำเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้น ภายในกำหนด ๗ วัน ภายหลังที่ได้เสนอคำฟ้องแล้ว หรือการที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว.
เจือสม
หมายถึงก. มีความสอดคล้องหรือสนับสนุนให้น่าเชื่อ เช่น คำให้การของพยานโจทก์กับพยานจำเลยเจือสมกัน.
ว่าต่าง
หมายถึง(กฎ) ก. ว่าความแทนโจทก์, ใช้คู่กับ แก้ต่าง ซึ่งหมายถึง ว่าความแทนจำเลย.
คู่ความร่วม
หมายถึง(กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี.
เปิดคดี
หมายถึง(กฎ) ก. การที่โจทก์หรือจำเลยแถลงต่อศาลถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย อีกทั้งพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงก่อนที่จะนำพยานเข้าสืบ.
เลี้ยงความ
หมายถึงก. อาการที่ทนายความของโจทก์และจำเลยสมคบกันถ่วงคดีความให้ล่าช้า โดยประสงค์ที่จะเรียกค่าใช้จ่ายในการว่าความที่ต้องยืดเยื้อออกไป.